วช.ลงพื้นที่ดูงานวิจัยโครงการ ท้าทายไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ:อาหารปลอดภัย ปลาปลอดพยาธิ ที่โรงงานปลาส้มแม่เตี้ย โคราช

918

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2562 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น โครงการ CASCAP ท้าทายไทย : ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ (Grand Challenges Thailand : Fluke Free Thailand) : อาหารปลอดภัย ปลาปลอดพยาธิ ด้วยการนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ไปดูโรงงานปลาส้มแม่เตี้ย บ้านทรายทอง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา(โคราช) ซึ่งเป็น 1 ใน 11 โครงการ CASCAP (ใบรับประกันการถนอมอาหารพื้นบ้าน ปลาส้ม ปลาร้า) ของผู้คนชาวอีสานอร่อยมความปลอดภัย พยาธิใบไม้ตับ ในโครงการท้าทายไทยฯ ซึ่งได้พัฒนาแนวทางการทำปลาส้มปลาร้าให้ถูกสุขอนามัยเพื่อลดปัญหาโรคพยาธิใบไม้ในตับแก่ผู้บริโภค อันนำไปสู่โรคมะเร็งในท่อน้ำดี ซึ่งเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตในลำดับต้นๆ โดยเฉพาะประชากรในภาคอีสาน

ที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)ซึ่งมีศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เป็นเลขาธิการ วช. และได้มอบให้ น.ส.สุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช.นำคณะสื่อมวลลงพื้นที่เพื่อติดตามผลงาน ตามที่ได้สนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยการทำกิจกรรมและส่งเสริมการวิจัยดังกล่าว โดยมี รศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว ผอ.สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.) เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยท้าทายไทยฯ โดยเริ่มทำตั้งแต่ปี 2557 – 2559 ในการผลักดันให้การแก้ไขปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นวาระแห่งชาติหรือแบบครบวงจรให้กับประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)และอีก 1จังหวัดภาคเหนือ  ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ สกลนคร และ จ.แพร่

ด้วยการให้ทางคณะนักวิจัยส่วนใหญ่เป็นคณาจารย์ในภาควิชาต่างๆในคณะแพทยศาสตร์ เช่น ภาควิชาศัลยศาสตร์ รังสีวิทยา พยาธิวิทยา อายุรศาสตร์ ชีวเคมี ปรสิตวิทยา และเภสัชวิทยา หรือเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) ร่วมกันศึกษาวิจัยต่อยอด  ที่รศ.นพ.ณรงค์ กล่าวว่า หากปราศจากคณาจารย์เหล่านี้ที่เป็นหนึ่งในคณะวิจัยก็คงยากที่จะทำงานใหญ่เหล่านี้ให้สำเร็จได้  โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ตับที่อยู่ใน “ปลาน้ำจืด”ด้วยการตัดวงจรก่อนลงจาน จากแหล่งน้ำ สู่กรรมวิธีการแปรรูป และวิธีการบริโภคอย่างปลอดภัย

ซึ่งมี ผศ.ดร.รัชฎา ตั้งวงค์ไชย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการถ่ายทอดเทคโนโลยี มข. และเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยี สาขาการอาหาร ที่เข้ามาช่วยดูแลเรื่องการบรรจุภัณฑ์ ,ศ.ดร.สพ.ญ.ธิดารัตน์ บุญมาศ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และอาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มข.ในฐานะเป็นนักวิจัยในโครงการ CASCAP ท้าทายไทยฯ และหัวหน้าโครงการ อาหารปลอดภัย : ปลาปลอดพยาธิ ที่เป็นหลักในการขอทุนจากวช.ในการเข้าไปช่วยเหลือชุมชนโรงงานปลาส้มแม่เตี้ย ที่ผลิตอาหาร เช่น ปลาส้ม ปลาร้า เป็นต้น ซึ่งถือเป็นโรงงานนำร่องที่ทำตามกระบวนการและสามารถทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับตัวอ่อนพยาธิและเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับตามมาลดลง

น.ส.สุกัญญา ธีระกูรณ์เลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. กล่าวว่า จากการติดตามผลงานการวิจัยของถึงการปองกันและเฝ้าระวังโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับ  ของรศ.นพ. ณรงค์ และคณะแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น  เพื่อศึกษากาแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่องน้ำดีแบบครบวงจร ตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ และตติยภูมิในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคอีสานและ 1 จังหวัดภาคเหนือ เนื่องจากเห็นว่า มะเร็งท่อน้ำดี คือมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุน้ำดีทั้งในและนอกตับ ที่คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับปีละประมาณ 10,000-20,000 คน โดยครึ่งหนึ่งเป็นประชาชนในภาคอีสาน และประมาณ 55% เกิดกับประชากรในวัยทำงานที่เป็นหัวหน้าครอบครัว

สาเหตุของการเกิดปัญหา นพ.ณรงค์ ในฐานะหัวหน้าโครงการฯเล่าว่า เกิดจากการบริโภคปลาในวงศ์ปลาตะเพียนแบบสุกๆดิบๆ ซึ่งประชาชนที่ติดเชื้อพยาธินี้กว่า 6 ล้านคนและป่วยเป็นมะเร็งท่อน้ำดีและเสียชีวิตภายใน 1 ปี แม้ว่าจะยังทำให้ผู้คนปลอดจากพยาธิใบไม้ตับหรือมะเร็งท่อน้ำดีไม่ได้ 100% แต่ก็สามารถลดหรือตัดวงจรการก่อให้เกิดพยาธิใบไม้ตับหรือมะเร็งท่อน้ำดีไปได้มาก

ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. กล่าวต่อว่า วช.ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนให้ทุนการวิจัยและการบริหารจัดการผลงานวิจัยด้วยการให้ทุนการป้องกันและเฝ้าระวังโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับประจำปี 2560  เพื่อศึกษาการแก้ไขปัญหาฯ กลุ่มสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ วช. เห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าวจึงจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้และผลงานวิจัยในการพาสื่อมวลชนมาดู พร้อมกับเยี่ยมชมโรงงานการทำปลาส้ม ปลาร้าแม่เตี้ย ปลอดพยาธิ ที่เป็นโรงงานต้นแบบของนักวิจัยในการเข้าไปให้ความรู้

ศ.ดร.สพ.ญ.ธิดารัตน์ บุญมาศ นักวิจัยในโครงการวิจัยท้าทายไทย ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ หัวหน้าโครงการ อาหารปลอดภัย :  ปลาปลอดพยาธิ เล่าว่า  ได้ทำการสำรวจการติดเชื้อตัวอ่อนระยะติดต่อในปลาวงศ์ตะเพียนในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดสระแก้ว เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มปลาร้าปลอดพยาธิและทำต้นแบบฟาร์มปลาตะเพียนปลอดพยาธิ รวมถึงพัฒนาแนวทางการทำปลาร้าปลาส้มให้ถูกสุขอนามัย โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ โรงงานแม่เตี้ย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และความร่วมมือกับคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จนได้ผลิตภัณฑ์ปลาร้าปลาส้มพร้อมรับประทานในแบบต่างๆ เช่น ปลาส้มทอด ปลาส้มก้อน ลาบปลาส้มก้อน แบบพร้อมรับประทานได้สะดวก โดยใช้ไมโครเวป อุ่นอาหาร ที่ปรุงสำเร็จ ทั้งแบบแช่เย็นและแข็ง โดยใช้ความหนาของปลาในแบบต่าง ๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการอุ่นและรสชาติของอาหาร และยังรักษาคุณค่าอาหารให้ถูกหลักโภชนาการได้เป็นอย่างดี

ศ.ดร.สพ.ญ.ธิดารัตน์ เล่าต่อว่า กิจกรรมอาหารปลอดภัย:ปลาปลอดพยาธิ มีกิจกรรมย่อยถึง 4 กิจกรรม คือ การสำรวจการติดเชื้อตัวอ่อนระยะติดต่อในปลาวงศ์ตะเพียนปี 2559-2560 ,การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้มปลาร้าปลอดพยาธิแบบ พรีเมี่ยม,การทำต้นแบบฟาร์มปลาตะเพียนปลอดพยาธิ และการพัฒนาแนวทางการทำปลาร้าปลาส้มให้ถูกสุขอนามัย ในช่วงแรกๆพบปัญหาอุปสรรคพอสมควร เพราะส่วนใหญ่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่เขาเคยทำกันมามันเป็นเรื่องค่อนข้างยาก ซึ่งต้องใช้ความอดทนและการให้ความรู้ อย่างโรงงานปลาส้มแม่เตี้ยก็เช่นกัน สุดท้ายทุกคนเข้าใจถึงพิษภัยอันตรายของพยาธิใบไม้ตับที่ก่อให้เกิดมะเร็งท่อน้ำดีและหันมาทำตามกระบวนการที่เราให้คำแนะนำ