สปสช.นำคณะผู้นำต่างชาติฯศึกษาดูงาน ภาวะชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมในชุมชนยายชา จ.นครปฐม

649

 

เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2562 ที่กิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุ ณ ฟาร์มชุมชน “ทุ่งธรรมนา” และกาแฟกลางทุ่ง อบต.ยายชา อ.สามพราน จ.นครปฐม นายแพทย์รัฐพล เตรียมวิชานนท์  ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นายแสวง หอมนาน ที่ปรึกษา สปสช. เขต 5 ราชบุรี และทีมงาน สปสช. ได้นำคณะผู้เข้าร่วมจากประเทศต่างๆด้านสุขภาพ ที่เข้าร่วมประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 2561 โดย มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ องค์กรภาคีในประเทศและระหว่างประเทศ  จัดกิจกรรมศึกษาดูงานพื้นที่กรณีตัวอย่าง (PMAC Field visit) ในพื้นที่เขต 5 ราชบุรี พาผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติ กว่า 60 คน ศึกษาดูงาน สาย 4 หัวข้อ เรื่อง “ภาวะผู้นำชุมชนในการควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมของภาคีในชุมชนยายชา  กรณีศึกษา การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่บ้าน

โดยมีนายแพทย์ณรงค์ ตั้งตรงไพโรจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครปฐม กล่าวต้อนรับ และ ร้อยตรีพงศธร ศิริสาคร รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดพร้อม นำปิ่นโตเปี่ยมสุข แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่มลงเยี่ยมชมกิจกรรมการควบคุมและป้องกันโรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตามฐานกิจกรรมต่างๆ ตามกลุ่มในการศึกษาดูงานครั้งนี้ พร้อม นางวาสนา กลิ่นพยอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา  ในฐานะผู้นำชุมชนและทีมบริหารจัดการ  ผู้สูงอายุกลุ่ม มาหา’ไร ยายชา ทีมเครือข่ายสุขภาพแพทย์พยาบาลโรงพยาบาลและตัวแทนภาคีที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับและให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนในการศึกษาดูงาน

นางวาสนา  กลิ่นพยอม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กล่าวถึงรายละเอียดของชุมชน อบต.ยายชา ว่า ทางผู้นำชุมชนและกลุ่มผู้สูงอายุ มาหา’ไร ยายชา  ยินดีเป็นอย่างมากที่ได้เป็นตัวแทนของพื้นที่หนึ่งในประเทศไทยในการแลกเปลี่ยน เล่าเรื่องราวดีๆ ที่ทั้งชุมชนยายชา ที่มีสภาพผู้นำชุมชนที่มีสภาพทั้งในเมืองผสมกับความเป็นชนบท ที่มีความเปลี่ยนแปลงตามความเจริญ เข้าสู่สังคมของผู้สูงอายุ  พร้อมนำชุมกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชุมชนสามารถพึ่งตัวเองได้ แยกเป็น 6 ฐานเรียนรู้ ซึ่งได้จัดคละกลุ่มผู้นำด้านสุขภาพจากนานาชาติ ไม่ว่าจะเป็นจาก แถปยุโรป แอฟฟิกา  เอเชีย จากทั่วโลก จำนวนกว่า 60 คน

 

ฐานที่ 1 การเก็บเห็ด  ฐาน 2 การเลี้ยงเป็ด ฐาน 3 การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การทำนา และเกษตรอินทรี(ปลูกผัก ทำนา ไม่ใช้สารเคมี)และก่อนที่จะลงฐานเรียนรู้

นางวาสนา นายกอบต.ยายชา (ผู้นำหญิงแกร่ง) ได้เล่าให้ฟังถึงชุมชนนี้ว่า ได้มีการดูแลจัดการเตรียมการรองรับสังคมผู้สูงอายุ  ที่เดิมเคยมีปัญหา เรื่องภาวะเจ็บป่วย บางคนถึงกับติดเตียง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ถูกทอดทิ้งและอาจได้รับการดูแลไม่ถูกต้อง หลายรายไม่สามารถเดิน ช่วยเหลือตัวเองได้   กลุ่มผู้นำผู้สูงอายุ มองว่าน่าจะช่วยกันก่อนเรื่อง กำลังใจในการดูแล ด้วยการจัด ปิ่นโตผู้เปี่ยมสุข เพื่อเปิดเรื่อง การเข้าไปเยี่ยมบ้านให้กำลังใจ ส่งสุขกันที่บ้าน คือ การนำอาหารจากการพบปะของผู้สูงอายุแบ่งอาหารส่วนหนึ่งไปฝากเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง และไม่พึ่งพิง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ยังแข็งแรง ไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพกาย ชวนกันมาร่วมกิจกรรม โรงเรียนผู้สูงอายุ ชื่อ มาหา ‘ไร  ยายชา   เพื่อให้มาพบปะและ มาทำกิจกรรมร่วมกัน วางแผนส่งสุขให้กับผู้สูงอายุ ให้มาร่วมสร้างสุขด้วยกัน ลดภาวะซึมเศร้า ไปร่วมกันสร้างจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ในทุกวันที่ 15  และนัดหมายอื่นๆ ไปเยี่ยมผู้สูงอายุ เพื่อนๆ ญาติที่อยู่ในกลุ่ม ในชุมชน

“โดยในหลายราย หากมีความต้องการเป็นพิเศษ ต้องช่วยเหลือในหลายเรื่อง โดยเฉพาะในรายป่วยติดเตียง เช่น ไม่มีเตียง เบาะนอนสำหรับการแก้ปัญหาแผลกดทับ  หรือบางรายต้องใช้แพมเพริส   อุปกรณ์ทำแผล  ทางกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุ  กลุ่ม มาหาไร ยายชา นี้ ก็จะขอรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาต่างๆ เพื่อดูแลกันในกลุ่มเพื่อน  หากรายใดต้องประสานหรือ ครอบครัวยากจน มีปัญหาเรื่องอาชีพ ก็จะจัดกลุ่มพัฒนาอาชีพให้ครอบครัวรวมทั้ง การจัดสภาพแวดล้อมด้วยวิถีธรรมชาติ  ลดการใช้สารเคมี เพื่อลดการสะสมสารพิษ กระตุ้นให้ทุกครัวเรือนมาร่วมกันทำ ปรับเปลี่ยนที่ของตัวเองในแบบเศรษฐกิจพอเพียง  ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์  ไว้ใช้เพิ่มเรื่อง สารอาหารในชุมชน”นายกอบต.ยายชา กล่าว

 

 

ด้านนายแพทย์รัฐพล  เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงพื้นที่อบต.ยายชา และให้ผู้นำด้านสุขภาพจากนานาชาติทั่วโลกที่เข้าร่วมประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 2561ฯ ได้เห็นความเข้มแข็งของชุมชนในการดูแลเรื่องสาธารณสุขโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน ฯ รวมถึงผู้สูงอายุ และพลังการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมถึงการเมืองในการมีบทบาทดึงชุมชนให้มีส่วนร่วม ซึ่ง การจะดึงคนเข้ามาทำกิจกรรมค่อนข้างยากมาก แต่นายกอบต.ยายชาก็มีความสามารถทั้งเรื่องการดำเนินการจัดการเชิงธุรกิจ เชิงบริหารจัดการเชิงสังคม และมีเป้าหมายชัดเจน

นายแพทย์รัฐพล  ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า  การจัดการควบคุมและป้องกันโรคอย่างมีส่วนร่วมของภาคีในชุมชนนั้น มาจากหลายภาคส่วนที่ร่วมดำเนินการร่วมกัน ส่วนหนึ่งมาจาก กองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.ยายชา หรือที่เรียกกันว่า “กองทุนสุขภาพ สปสช.ตำบลยายชา ที่มีนายก อบต. (นางวาสนา กลิ่นพะยอม) เอง เป็นประธานคณะกรรมการกองทุน  ตัวแทนรพ.ไร่ขิง  ตัวแทนรพ.สต. ตัวแทนหมู่บ้านชุมชนจากทุกหมู่  ที่เป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดูแลส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ไปพร้อมๆ กับภารกิจของ โรงพยาบาล หน่วยบริการ รพ.สต.ในพื้นที่ โดย สปสช.จะสมทบ ประมาณ หัวละ 45 บาทต่อจำนวนประชากรในตำบลยายชา ที่มีกว่า 8,000 คน ซึ่งตามเกณฑ์ อบต.ยายชาจะต้องสมทบ 22.50 บาท แต่ทางอบต.เองสมทบถึงเกือบ 40 บาทต่อจำนวนประชากร” มาเพื่อป้องกันโรคและฟื้นฟูสุขภาพในทุกช่วงอายุ ทุกช่วงวัย  ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุ เป็นหนึ่งในหลายกลุ่มที่ต้องดูแล ทั้งนี้ โรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่นายกอบต.ยายชา บอกว่า ผู้สูงอายุในอบต.มีประมาณ 16% ของประชากร ในชุมชน เป็นประเด็นสำคัญที่ตำบลให้ความสนใจ ถือว่าต้องรีบพัฒนา และป้องกัน  อย่างเช่น ตำบลยายชานี้ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สร้างสรรค์ด้วยการมีกลุ่มโรงเรียนผู้สูงอายุดูแลในกลุ่มคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปที่แข็งแรง และกลุ่มที่ป่วยติดบ้าน ติดเตียงก็ร่วมดูแลด้วย  แคร์กีฟเวอร์หรือ(caregiver) ผู้ดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่บ้าน  ผู้สูงอายุที่แข็งแรงร่วมกับการวางแผนฟื้นฟู ทำกายภาพที่บ้านให้โดยเจ้าหน้าที่ พยาบาลจาก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ยายชา และทีมสหวิชาชีพจากโรงพยาบาลสามพราน ในการรับส่งต่อดูแลกันในทุกบ้าน

 

“นอกจากนี้นายกอบต.สามารถหยิบปัญหาในพื้นที่เช่น คนติดบ้านติดเตียง คนที่เป็นเบาหวานเรื้อรัง ทำกิจกรรมผู้สูงอายุ ซึ่งเขาเห็นแล้วว่า 16%ของคนในชุมชนอบต.ยายชา เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งมี 2 แบบคือ ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง กับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะไม่พึ่งพิง และอยู่ในพื้นที่ซึ่งนายกอบต.ยายชา บอกว่า มีผู้สูงอายุจะฆ่าตัวตัวเพราะลูกหลานไม่ดูแล สังคมเปลี่ยนไปจนไม่รู้จะพึ่งใครแล้ว นายกอบต.ยายชาเห็นเลยเข้าไปบริหารจัดการช่วยทำให้สภาพที่แย่ ซึ่งเดิมชุมชนไม่ดูแลกันกลับมาดีขึ้นมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายพื้นที่ทำ แต่ความสำเร็จจะให้เห็นผลนั้นไม่ยาก แต่จะให้ยั่งยืนมันค่อนข้างยาก รวมทั้งยังทำให้เกิดเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ได้อีกด้วย  พูดง่ายๆจุดเด่น ของนายกอบต.ยายชา คือ มีภาวะผู้นำสูง แล้วนำทีม นำผู้นำมาช่วยกันทำกิจกรรมร่วมกัน ดึง จิตอาสา มาช่วยและมีทีมรับเป็นสะพานบุญกับคนที่มีจิตอาสาแต่ไม่มีเวลา  รับบริจาคเป็นสิ่งของ เงินมาช่วยเหลือในชุมชนให้เขาสามารถอยู่ด้วยตนเองได้ โดยสอนให้เรียนรู้ว่าไม่ให้ยึดติดกับตัวบุคคลแต่ให้ยึดติดกับงานที่ทำนี่คือเป้าหมายที่ สปสช.มุ่งหวังให้ชุมชนช่วยเหลือด้วยตนเองและที่อบต.ยายชาถือว่าตรงกับเป้าหมายที่ สปสช.วางไว้” นายแพทย์รัฐพล  ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช. กล่าว