เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2562 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่(มช.) ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ รองประธานคณะกรรมการกำกับโครงการวิจัยท้ายทายฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พร้อมคณะ ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ ติดตาม โครงการวิจัยท้าทายไทยประจำปี 2561 และปีงบประมาณ 2562 ในหัวข้อ “การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ ในชุมชนสีเขียว” ที่มี ศ.ดร.ทนงเกียรติ เกียรติศิริโรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าแผนกิจกรรม “การพัฒนาต้นแบบการผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทนเพื่อชุมชนสีเขียว” และคณะร่วมทำวิจัย ประกอบด้วย
ผศ.ดร.กลยุทธ์ ปัญญาวุธโธ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ ผศ.ดร.อรรถกร อาสนคำ หัวหน้าโครงการย่อยฯ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นแกนหลักในการทำงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการใช้พลังงาน และศึกษาวิจัยการนำพลังงานทดแทนมาใช้ประโยชน์ในชุมชน ให้เกิดการยอมรับของผู้ใช้และประชาชน ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาแล้วให้เกิดการยอมรับ ด้วยการบูรณาการงานวิจัยที่จะช่วยให้ลดต้นทุนในการดำเนินการของแต่ละภาคส่วนในการพัฒนางานวิจัยต้นแบบ และมีการทดลองใช้งานจริง ซึ่งวช.ได้สนับสนุนงานวิจัยเพื่อแก้ไขการใช้พลังงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน
ศาสตราจารย์ ดร.ทนงกียรติ เกียรติศิริโรจน์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าแผนกิจกรรมโครงการ “การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ ในชุมชนสีเขียว” กล่าวว่า การดำเนินงานของโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการการพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ในชุมชนสีเขียว มีทั้งหมด 8 โครงการ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้งานพลังงานแสงอาทิตย์ และพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิง เพื่อผลิตไฟฟ้า แสงสว่าง และความร้อน และการนำชีวมวลและของเสียเหลือทิ้งมาผลิตเชื้อเพลิงในรูปเชื้อเพลิงของแข็ง น้ำมันชีวภาพ หรือก๊าซเชื้อเพลิง รวมถึงการพัฒนาก๊าซชีวภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า และความร้อน การพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้า จากชีวมวล การพัฒนากังหันลม การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบอื่น ๆ การพัฒนาระบบควบคุม เพื่อให้เกิดการจัดการระบบพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ผศ.ดร.กลยุทธ์ ปัญญาวุธโธ หัวหน้าโครงการวิจัยต้นแบบการผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทนที่ไม่พึ่งพาพลังงานจากฟอสซิล(เช่น น้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ)เพื่อต้องการลดปริมาณ คาร์บอนฯที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเหล่านี้ ด้วยสภาพภูมิประเทศและสภาพต่างๆที่เอื้อให้กับประเทศไทย ซึ่งพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับเลือกเป็นพลังงานทดแทนที่นำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับโครงการวิจัยนี้ อีกทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานที่ขาดความต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบอยู่ได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากระบบสายส่ง(การไฟฟ้า) โดยระบบจะกักเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ที่เป็นต้นแบบในการนำไปใช้กับรถจักรยานยนต์ และรถแข่งจำลอง ด้วยการแปลงระบบไฟฟ้าเคมี คือการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็น ไฮโรเจนโดยใช้น้ำ ผ่านกะบวนการอิเล็กโทรไลเซอร์ หรือ เซลล์แยกน้ำด้วยไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ระบบมีการทำงานได้ตลอดเวลา และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
จากนั้นได้นำคณะไปเยี่ยมชมศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “หริภุญไชย” จ.ลำพูน ที่เป็นศูนย์วิจัยการพัฒนาต้นแบบพลังงานทดแทนฯสำหรับใช้ในส่วนภาคอาคารจะเป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตน้ำร้อนในรูปแบบเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้า แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากใช้พื้นที่มากในการวางแผงโซลาเซลล์ ต้นทุนสูง จึงได้ดำเนินการผสมผสานด้วยการใช้พลังงานทดแทนในชุมชนภาคเกษตรกรรม ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชุมชน อีกทั้งยังมีการนำขยะทางการเกษตรเหลือทิ้ง มีจำนวนมาก เช่น เศษใบไม้ ท่อนไม้ เป็นต้นมาบูรณาการร่วมกับพลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่นที่มีศักยภาพ ช่วยเหลือการเกิดปัญหาหมอกควัน ที่เกิดจากการเผาของเสียเหลือทิ้งทางการเกษตร มาเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในภายในอาคาร เช่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ด้าน ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้พลังงานทั้งในภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และการขนส่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก มีแนวโน้นจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น การใช้พลังงานทดแทนเป็นแนวทางหนึ่งตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการที่ตอบสนองนโยบายเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน และสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานแล้ว ยังช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้ให้ทุนทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ ในปีงบประมาณ 2559 ภายใต้แผนงานวิจัยตอบสนองนโยบายรัฐบาล กลุ่มเรื่องพลังงานทดแทน (โครงการท้าทายไทย) แก่กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาพลังงานทดแทนและการประยุกต์ใช้ ในชุมชนสีเขียว (Development of Alternative Energy and Its Application in Green Communities)” โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ทนงกียรติ เกียรติศิริโรจน์ แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำองค์ความรู้ และเทคโนโลยี จากการวิจัยด้านพลังงานไปใช้ในชุมชนในจริง และลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ด้วยการใข้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแม้ว่าจะเป็นเพียงต้นแบบบางส่วนก็สามารถนำผลวิจัยนี้ใช้ได้จริงแล้ว ซึ่งการดำเนินโครงการวิจัยนี้คงต้องมีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น