ทปอ.แถลงผล ทีแคสปีการศึกษา 62 คณะด้านสังคมครองแชมป์ที่นิยมเข้าเรียนมากที่สุด

347

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ สำนักงานเลขาธิการที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) ห้องประชุมศาสตราจารย์อรุณ สรเทศน์ ชั้น 3  อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) หรือ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม(อว.) จัดแถลงข่าวผลการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือ Thai University Central Admission System : TCAS (ทีแคส) ปีการศึกษา 2562 รอบที่ 1-รอบที่ 3 และผลการรับสมัครรอบที่ 4

โดยมีศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอกเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ในฐานะ ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(ทปอ.) และ ดร.พีระพงศ์ ตริยเจริญ อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) ในฐานะ ผู้ช่วยเลขาธิการ ทปอ. ร่วมกันแถลงข่าว โดยมีสื่อมวลชนจากสำนักต่างๆ รวมทั้งเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับน้องๆนักเรียนชั้นม.6 ที่เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยร่วมรับฟังและร่วมกันไลฟ์สดในครั้งนี้ด้วย

ศ.ดร.สุชัชีวีร์ กล่าวว่า ในวันนี้มหาวิทยาลัยในประเทศไทยต้องมีการปรับตัว และระบบทีแคสเป็นระบบที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงทำให้เกิดข้อมูลอันประจักษ์ และช่วยมหาวิทยาลัยไทยได้ปรับตัว พร้อมทั้งผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา ซึ่งจะเป็นกำลังของประเทศต่อไปในอนาคต และจากตัวเลขผลการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา(TCAS)ปีการศึกษา 2562 รอบที่ 1-รอบที่ 3 ของสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยในปีการศึกษา 2562 เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 เป็นต้นมาจนถึงเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งได้ข้อมูลจาก Big Data การคัดเลือกเสร็จสิน้นแล้วในรอบที่ 1-รอบที่ 3 และขณะนี้การรับสมัครในรอบที่ 4 ก็แล้วเสร็จ พร้อมที่จะนำคะแนนของผู้สมัครมาประมวลผลการคัดเลือกของผู้สม้คร และประกาศผลการคัดเลือกในรอบที่ 4 คือ แอดมิชชั่น ได้ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2526 นี้

ประธาน ทปอ. กล่าวต่อว่า จากผลการคัดเลือกที่ผ่านมาทั้ง 3 รอบมีข้อมูลสถิติที่น่าสนใจ ดังนี้

1.จำนวนสถาบันฯหรือมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมในระบบทีแคส 62 มีจำนวนทั้งสิ้น 70 สถาบันฯ

มีสาขาวิชาที่ประกาศรับจำนวน 91,340 สาขาวิชา

2.มีที่นั่งในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาฯทั้งหมด 5 รอบ มีจำนวน 445,364 ที่นั่ง โดยเรียงลำดับ

จากรอบแรก(รอบที่ 1)แฟ้มสะสมผลงาน ซึ่งเป็นรอบที่มีจำนวนที่นั่งมากที่สุด คือ 130,140 ที่นั่ง

รอบที่ 2 ระบบโควตา จำนวน 99,033 ที่นั่ง

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน จำนวน 95,124 ที่นั่ง

รอบที่ 4 แอดมิชชั่น จำนวน 91,340 ที่นั่ง และ

รอบที่ 5 การรับตรงอิสระ จำนวน 29,727 ที่นั่ง

สำหรับผลการคัดเลือกในรอบที่ 1 และรอบที่ 3 มีจำนวนผู้ผ่านการคัดเลือกที่ยืนยันสิทธิ์แล้วและมีสิทธิ์เข้าศึกษาจำนวน 151,806 คน แบ่งเป็น

รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน จำนวน 58,364 คน

รอบที่ 2 ระบบโควตา จำนวน 51,213 คน

รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน จำนวน  42,229 คน

ศ.ดร.สุชัชวีร์ กล่าวว่า จากการผลการคัดเลือกในรอบที่ 1 – รอบที่ 3 มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ คือ จำนวนผู้สมัครที่เรียงลำดับ ที่มีตัวเลขผู้ืยืนยันสิทธิ์ พบว่า ในรอบที่ 2 โควตา มีจำนวนสูงสุด 143,474 คน รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน จำนวน  134,723 คน และรอบที่ 3 การรับตรงร่วม จำนวน 108,121 คน

ศ.ดร.สัชัชวีร์  ยังกล่าวถึงหลักสูตรที่มีจำนวนผู้สมัครมากที่สุด 10 อันดับแรกในรอบที่ 3 การรับตรงร่วม ได้แก่

1.หลักสูตรสาชาวิชาการเงิน(ภาคปกติ) วิทยาเขตบางเขน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) มีผู้สมัคร 3,151 คน รับจำนวน 30 คน มีผู้ผ่าน 32 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 18 คน

2.สาขาวิชาการตลาด(ภาคปกติ) วิทยาเขตบางเขน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) มีผู้สมัคร 2,723 คน รับจำนวน 30 คน มีผู้ผ่าน 30 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 16 คน

3.สาขาวิชาภาษาอังกฤษ(ภาคปกติ) วิทยาเขตบางเขน คณะมนุษยศาสตร์ มีผู้สมัคร 2,620 คน รับจำนวน 25 คน มีผู้ผ่าน 32คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 21 คน

4.หลักสูตรเศรษฐศาสตร์  คณะเศรษฐศาสตร์ มธ. มีผู้สมัคร 2,599 คน รับจำนวน 240 คน มีผู้ผ่าน 240 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 179 คน

5.หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(พย.บ.) คณะพยาบาลศาสตร์  มศว. มีผู้สมัคร 2,179 คน รับจำนวน 65 คน มีผู้ผ่าน 66 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 44 คน

6.หลักสูตรสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา  มธ. มีผู้สมัคร 2,156 คน รับจำนวน 80 คน มีผู้ผ่าน 80 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 44 คน

7.หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์  ม.พะเยา มีผู้สมัคร 2,129 คน รับจำนวน 30 คน มีผู้ผ่าน 31 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 16 คน

8.หลักสูตรบัญชีบัณฑิต(บช.บ.) คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มศว. มีผู้สมัคร 1,991คน รับจำนวน 40 คน มีผู้ผ่าน 40 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 20 คน

9.หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ ม.นเรศวร มีผู้สมัคร 1,828 คน รับจำนวน 100 คน มีผู้ผ่าน 100 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 58 คน

10.หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลทางเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.นเรศวร มีผู้สมัคร 1,817 คน รับจำนวน 90 คน มีผู้ผ่าน 90 คน และยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา 45 คน

หลักสูตรที่มีอัตราแข่งขันมากที่สุด 10 อันดับแรก รอบที่ 3 การรับตรงร่วม คือ

1.สาขาวิชารัฐศาสตร์(ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(ภาคปกติ)  คณะสังคาศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มก.

2.สาขาวิชารัฐาสตร์(การปกครองและการบริหารจัดการท้องถิ่น)ภาคปกติ  คณะสังคมศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มก.

3.หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ขอนแก่น

4.สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล(หลักสูตร 2 ภาษา) วิชาเอกการออกแบบเพื่องานภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล(ศศ.บ.) วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว.

5.สาขาวิชานิเทศศาสตร์(ภาคปกติ) คณะมนุษยศาสตร์  วิทยาเขตบางเขน มก.

6.รป.บ.รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ

  1. สาขารัฐศาสตร์(บริหารงานยุติธรรมและความปลอดภัย)(ภาคปกติ) วิทยาเขตบางเขน คณะสังคมศาสตร์ มก.

8.สาขาวิชามีเดียอาตส์-กลุ่มวิชาเอกการออกแบบกราฟิก-ศล.บ.4 ปี คณะสถาปัตยจกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ.

9.หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย(หลักสูตร 4 ปี) คณะศึกษาศาสตร์ ม.นเรศวร

10.สาขาวิชาการเงิน(ภาคปกติ) คณะบริหารธุรกิจ วิทยาเขตบางเขน มก.

หลักสูตรที่มีผู้เลือกมากที่สุด 10 อันดับแรก รอบที่ 3 การรับตรงร่วม

1.เศรษฐศาสตร์  มธ.

2.สาขาวิชาการเงิน(ภาคปกติ) คณะบริหารธุรกิจ มก.

3.เภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลทางเภสัชกรรม ม.นเรศวร

4.เภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาบริบาลทางเภสัชกรรม ม.พะเยา

5.สาขาวิชาภาษาอังกฤษ(ภาคปกติ) คณะมนุษยศาสตร์ มก.

6.คณะศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมทั่วไป(วิศวกรรมโยธา ไฟฟ้า เกษตรอุตสาหการ เครื่องกล สิ่งแวดล้อม เคมี คอมพิวเตอร์ และระบบ) ม.ขอนแก่น

7.บัญชีบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ฯ

8.สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

9.สาขาวิชาการตลาด(ภาคปกติ)  คณะบริหารธุรกิจ มก.

10.พยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา

สำหรับหลักสูตรที่มีอัตราแข่งขันมากที่สุด 10 อันดับแรก รอบที่ 4 แอดมิชชั่น

  1. คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร สมัครแข่งขัน 217 คน รับ 1 คน

2.คณะแพทยศาสตร์ ม.นเรศวร สมัครแข่งขัน 192 คน รับ 1 คน

3.คณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา สมัครแข่งขัน 275 คน รับ 2 คน

4.การศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ ม.ราชภัฎสงขลา  สมัครแข่งขัน 264 คน รับ 2 คน

5.คณะทันตแพทยศาสตร์  มศว. สมัคร 447 คน รับ 4 คน

6.คณะสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (วิทยาเขตบางพระ)  มทร.ตะวันออก สมัคร 104 คน รับ 1 คน

7.สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มศว. สมัคร 87 คน รับ 1 คน

8.หลักสูตรภาษไทย คระครุศาสตร์ ม.ราชภัฎสงขลา สมัคร 259 คน รับ 3 คน

9.คณะทันตแพทยศาสตร์  ม.ขอนแก่น  สมัคร 823 คน รับ 10 คน

10.คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ สมัคร 379 คน รับ 5 คน

หลักสูตรที่มีจำนวนรับมากที่สุด 10 อันดับแรก รอบที่ 4 แอดมิชชั่น

1.คณะอักษรศาสตรบัณฑิต พื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ม.ศิลปากร สมัคร 376 คน รับ 400 คน

2.สาขาวิชาการวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ สมัคร 520  คน  รับ 400 คน

3.สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและโรงแรม(มจพ.ปราจีนบุรี ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สมัคร  234 คน  รับ 320  คน

4.สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า(มจพ.ปราจีนบุรี) ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สมัคร 128  คน  รับ  320 คน

5.สาขาวิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ  ม.เกษมบัณฑิต สมัคร 18  คน  รับ 300 คน

6.สาขาวิชานิติศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต สมัคร4 คน รับ 300 คน

7.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(กลุ่มที่ 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ)9 สาขาวิชา คือ คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ เคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยา ฟิสิกส์ สถิติ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และวิทยาการข้อมูล ม.ศิลปากร สมัคร 666 คน รับ 250 คน

8.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.สงขลาฯ สมัคร 142 คน รับ 220 คน

9.คณะบัญชีและการจุดการ ม.มหาสารคาม สมัคร 571 คน รับ 200 คน

10.สาขาวิชานิติศาสตร์ สำนักวิชานิติศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง สมัคร 339 คน รับ 200 คน

ผู้สื่อข่าวรายงาน สำหรับรายละเอียดสถิติต่างๆติดตามได้ที่เว็บไซต์ ทปอ.