สปสช. เยี่ยมชมและรับฟังหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระ(เอ็นจีโอ)จ.ขอนแก่น พบผู้รับบริการได้รับเงินชดเชยตามสิทธิ์ 1 ราย

289

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562  นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) พร้อมด้วย นายแพทย์การุณ รองเลขาธิการสปสช. นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผอ.สปสช.เขต 7 ขอนแก่น และคณะผู้บริหาร เยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระ(เอ็นจีโอ)จากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา 50(5) แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (ด้านสาธารณสุข)

ในซ.วุฒาราม ถ.หน้าเมือง ต.ในเมือง  อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยมีบทบาทในการรับเรื่อง ประสานความเข้าใจระหว่างผู้รับบริการกับผู้ให้บริการและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก สปสช.ส่วนหนึ่งและอื่นๆ

ซึ่งมีบทบาทหลักคือ รับและตรวจสอบเรื่องร้องเรียน บันทึกข้อมูลการร้องเรียน และข้อเท็จจริงต่างๆ รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้ข้อมูล ชี้แจงและแนะนำ ประสาน ไกล่เกลี่ย แก้ปัญหา และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นหากไม่สามารถยุติเรื่องได้ ให้ส่งเรื่องนั้นพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานเพื่อดำเนินการต่อไป

โดยมีนางจิระนันท์ พากเพียร อดีตอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จ.ขอนแก่น ในฐานะเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนของหน่วยฯ และนายปฏิวัติ เฉลิมชาติ ผู้ประสานงานหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนฯ(ภาคประชาชนหรือเอ็นจีโอ) ให้ข้อมูลเล่าถึงความเป็นมาและผลที่ดำเนินการว่า หน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระฯจ.ขอนแก่นนั้นแตกย่อยออกเป็นศูนย์ประสานตามพันธกิจที่ชำนาญในแต่ละหน่วยในจ.ขอนแก่นอีก 8 ศูนย์ในการประสานกับหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นฯในจ.ขอนแก่นเพื่อส่งต่อไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เอสไอวี,ศูนย์ผู้หญิง,ผู้สูงอายุและสภาฮักแพงเบิ่งแยงฯ(สภาที่รักมากในการดูแลกันและกัน)

นพ.ศักดิ์ชัย เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากที่หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) จ.ขอนแก่น ที่เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2557 เป็นการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรชุมชน  องค์กรเอกชน เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ   สร้างความรู้ความเข้าใจในระบบหลักประกันสุขภาพ ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรภาคีในระดับพื้นที่  รับเรื่องร้องทุกข์ประสานงานแก้ไขปัญหาเบื้องต้นและกรณีส่งต่อ ติดตามและพัฒนาคุณภาพระบบบริการหลักประกันสุขภาพ สนับสนุนการมีส่วนร่วมขององค์กรประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพและผลักดันเชิงนโยบาย มาโดยตลอด

โดยได้สนับสนุนให้องค์กรชุมชน ที่มีความพร้อมเป็น ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จากนั้นหากศูนย์ประสานงานฯ มีความพร้อมก็จะได้รับการยกระดับเป็น หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50(5) แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ซึ่งมีบทบาทหลักคือ รับและตรวจสอบเรื่องร้องเรียน บันทึกข้อมูลการร้องเรียน และข้อเท็จจริงต่างๆ รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งให้ข้อมูล ชี้แจงและแนะนำ ประสาน ไกล่เกลี่ย แก้ปัญหา และให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นหากไม่สามารถยุติเรื่องได้ ให้ส่งเรื่องนั้นพร้อมทั้งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานเพื่อดำเนินการต่อไป

นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการ เผยแพร่ข้อมูล สร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมและเป็นเครือข่ายในการคุ้มครองสิทธิ เพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณสุขในพื้นที่ 

นับจากมีการประกาศขึ้นทะเบียนหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระฯ ในปีงบประมาณ 2552 จนถึงปีงบประมาณ 2559 มีหน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นฯ ที่มีการดำเนินงาน ณ ปัจจุบัน จำนวน 122 แห่ง ทั่วประเทศ

ในพื้นที่ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น มีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน   4 แห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด  2. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดขอนแก่น  อ.เมือง จ.ขอนแก่นน 3. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดมหาสารคาม  อ.บรบือ จ.มหาสารคาม และ 4. ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด  

สำหรับศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดขอนแก่น ที่มี นายปฏิวัติ เฉลิมชาติ เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความไม่เข้าใจหรือไม่ได้รับความยุติธรรมด้านสาธารณสุข

ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2549 และได้รับประกาศขึ้นทะเบียนรับรองเป็น หน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียนตามมาตรา50(5) จังหวัดขอนแก่น เมื่อ วันที่ 27  เดือน ตุลาคม ปี 2553  เน้นกิจกรรมหลักด้านการสร้างความรู้ ความเข้าใจ รับเรื่องร้องเรียนและแก้ไขปัญหา ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนให้เกิดการมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาให้กับผู้รับบริการ  การพัฒนาศักยภาพผู้นำในพื้นที่ ให้มีความรู้ความเข้าใจระบบหลักประกันสุขภาพที่เป็นปัจจุบัน

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า การดำเนินงานเรื่องการรับเรื่องร้องเรียนในปี 2561ภาพรวมที่ผ่านหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระฯจ.ขอนแก่น พบว่ามีผู้ร้องเรียน ร้องทุกข์ทั้งหมดจำนวน  31 ราย แบ่งเป็น 1. ไม่ได้รับความสะดวกตามสมควร จำนวน 1  ราย 2. ขอรับเงินช่วยเหลือตามมาตรา 41 จำนวน 2 รายที่ผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พบว่ามี 1 รายเข้าเกณฑ์ ได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน 3.6 แสนบาทและอีก 1 รายตรวจสอบแล้วไม่เข้าเกณฑ์ 3. หน่วยบริการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน จำนวน 3 ราย  4. ให้บริการข้อมูล/คำปรึกษา จำนวน 25 ราย

ส่วนแนวโน้มการดำเนินงานจัดตั้งศูนย์ประสานงานฯ และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระ ฯ ในพื้นที่ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น เครือข่ายผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เตรียมเป็นศูนย์ประสานงานฯ แห่งใหม่ สถานที่ วัดใต้โพธิ์ค้ำ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์  อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนฯ คาดว่าจะขึ้นทะเบียนได้ภายในปีงบประมาณ 2562

ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน จ.กาฬสินธุ์ (ขบวนเครือข่ายผู้หญิงไทย) อ.ดอนจาน จ.กาฬสินธุ์ เตรียมเป็นหน่วย 50(5) แห่งใหม่ เข้าร่วมเป็นศูนย์ประสานงานตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 มีผลงานมาอย่างต่อเนื่อง และผู้ประสานงานผ่านการอบรมเพื่อเป็นหน่วย 50(5) แล้ว การพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้แก่ผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหาย จากการรักษาพยาบาล

เป็นมาตรการที่ดำเนินการตามบทบัญญัติของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ ให้คณะกรรมการ กันเงินจำนวนไม่เกินร้อยละหนึ่ง ของเงินที่จะจ่ายให้หน่วยบริการ ไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ให้กับผู้รับบริการ ในกรณีที่ผู้รับบริการ ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ โดยหาผู้กระทำผิดมิได้หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ยังไม่ได้รับความเสียหาย ภายในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ”

 เงินช่วยเหลือเบื้องต้น หมายถึง เงินที่จ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับค่าเสียหายจากการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการ โดยมิต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด

การยื่นคำร้อง ผู้มีสิทธิยื่นคำร้อง ได้แก่ ผู้รับบริการ หรือทายาท ซึ่งทายาท ได้แก่ บิดา มารดา คู่สมรส ผู้สืบสันดาน(บุตร) พี่น้องร่วมบิดามารดา พี่น้องร่วมบิดา พี่น้องร่วมมารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา โดยให้ทายาทคนใดคนหนึ่งยื่นได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นตามลำดับชั้น

ระยะเวลายื่นคำร้อง  ไม่เกิน 1 ปี นับจากทราบความเสียหาย วิธียื่นคำร้อง การยื่นคำร้องทำได้ 2 วิธี  คือ 1. ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่หน่วยรับคำร้อง 2. ส่งคำร้องทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยคณะกรรมการจะถือวันที่ประทับตราเป็นวันที่ยื่นคำร้อง

ผู้มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ได้แก่ คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นซึ่งมีอยู่ในทุกจังหวัด คณะกรรมการดังกล่าวจะทำหน้าที่พิจารณาว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ผู้รับบริการควรได้รับเงินช่วยเหลือตามข้อบังคับหรือไม่เพียงใด หากควรได้รับเงินช่วยเหลือก็จะพิจารณาโดยคำนึงถึงความรุนแรงของความเสียหายและเศรษฐานะของผู้เสียหายด้วย โดยมีขั้นตอน ดังนี้

          เกณฑ์การช่วยเหลือ ดังนี้

  1. เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 400,000 บาท
  2. พิการหรือสูญเสียอวัยวะ จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 – 240,000 บาท
  3. บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 100,000 บาท

หากผู้รับบริการหรือทายาทที่ยื่นคำร้อง ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน หลังได้รับแจ้ง โดยวิธีการและสถานที่ยื่นคำร้อง เหมือนกับการยื่นคำร้องครั้งแรก โดยสำนักงานสาขาจะนำคำร้องอุทธรณ์และผลการวินิจฉัยครั้งแรกส่งมาที่ สปสช.เพื่อให้คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา