เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล กทม. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานแถลงมาตรการภาษีเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 : มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่าน หรือ (ช้อปหนังสือช่วยชาติ) ตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) ประกาศมาตรการลดหย่อนภาษี ด้วยการส่งเสริมการอ่าน และมีการเสวนา หัวข้อ “อ่านสร้างชาติ หนังสือสร้างปัญญา โดย นางสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(PUBAT) และนายปัณฑพล ประสารราชกิจ(โอม คอกเทล) นักอ่านคนดัง มาร่วมถ่ายทอดครั้งนี้ด้วย
ทางสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(PUBAT) ได้พร้อมขานรับมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่าน และมาตรการภาษีเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 กระทรวงการคลัง ตามแถลงการณ์ของคณะกรรมการบูรณาการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการบูรณาการส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านเพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ กล่าวว่า รัฐบาลได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564)เรื่องการเตรียมพร้อมด้านกำลังคนและการเสริมสร้างศักยภาพของประชากรในทุกช่วงวัย และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพทุนมนุษย์ของประเทศและเล็งเห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการอ่าน และกระตุ้นการตัดสินใจซื้อหนังสือรวมถึงสามารถสนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในวงการหนังสือ และสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด รวมทั้งหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของ E-book โดย ครม. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าว เมื่อวันที่ 30เมษายน 2562ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลสามารถนำค่าหนังสือ และค่าบริการ e-book ทุกประเภทตามที่จ่ายจริงไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม –-31 ธันวาคม 2562 โดยลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือในครั้งนี้หากคิดรวมกับรายจ่ายในการซื้อหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1-16 มกราคม 2562 ตามมาตรการช้อปช่วยชาติ ต้องไม่เกิน 15,000 บาท
ดังนั้นสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยในฐานะองค์กรตัวแทนธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์จึงได้กำหนดแผนงานสนับสนุนมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่านมาตรการภาษีเพื่อพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี 2562 ดังนี้
- ร่วมกับ ร้านหนังสือ อาทิ นายอินทร์ บีทูเอส ซีเอ็ด และร้านหนังสืออิสระ จัดเทศกาลหนังสือ Book for Mumในเดือนสิงหาคม และ เทศกาลหนังสือ Book for Giftในเดือนธันวาคมเพื่อสร้างโอกาสการซื้อและจำหน่ายหนังสือได้มากขึ้น
- ร้านหนังสือ สํานักพิมพ์จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสนับสนุนให้เกิดการซื้อและการจำหน่ายหนังสือจากร้านหนังสือ อาทิ นายอินทร์ บีทูเอส ซีเอ็ด และร้านหนังสืออิสระ รวมถึงการจำหน่าย e-book ด้วย
- จัดกิจกรรมเสวนา รวมถึง Clip VDO เผยแพร่ โดยเชิญ Idol/ Influencer ที่ประสบความสําเร็จ ด้วยการอ่านทุกเดือน(มิ.ย. – ธ.ค.2562)
- ประสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่าง ทั้ง offline และ onlineซึ่งสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยและรัฐบาลคาดว่าหลังจากมีมาตรการนี้จะส่งผลในทางบวกต่อกำลังซื้อของประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยซึ่งยังมีความจำเป็นต้องจัดซื้อหนังสือเรียนให้กับบุตรหลานอีกทั้งจากผลสำรวจของการดำเนินมาตรการภาษีเพื่อเกษตรชุมชนและทุนมนุษย์ หรือช้อปช่วยชาติในช่วงปลายปีคือตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2561 ถึง 16 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนทั่วไปมีความต้องการให้ขยายเวลาของมาตรการภาษีเพื่อซื้อหนังสือ รวมทั้งภาคเอกชนที่ประกอบธุรกิจการพิมพ์แจ้งว่าในช่วงดังกล่าวมีปริมาณการสั่งซื้อหนังสือรวมประมาณ 831 ล้านบาทมากกว่าที่สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยประเมินไว้ ขณะที่ร้านหนังสือที่เป็นเชนรายใหญ่ๆนั้นต่างก็มียอดขายที่เพิ่มกว่าช่วงปกติเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้นายวิษณุ เครืองาม กล่าวต่อว่า จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2561 พบว่าคนไทยจะใช้เวลาอ่านเพิ่มขึ้นต่อวัน จาก 66 นาทีต่อวันเมื่อปี 2558 เป็น 80 นาทีต่อวันแล้วก็ตาม แต่ยังไม่อาจเทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้ว อีกทั้งเห็นว่าการใช้มาตรการภาษีเพื่อซื้อหนังสือ จะสามารถสนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจของวงการหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด รวมทั้งที่อยู่ในรูปแบบของ E-bookจากการที่รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่านในครั้งแรกภายใต้มาตรการภาษีเพื่อเกษตร ชุมชนและทุนมนุษย์ ในช่วงวันที่ 15 ธันวาคม 2561 – 16 มกราคม 2562
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาผลการสำรวจของสวนดุสิตโพล พบว่า ได้รับผลตอบรับที่ดีมากทั้งจากประชาชนและภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจการพิมพ์และ E-bookทั้งข้อมูลของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่ามาตรการนี้ทำให้รายได้จากการจำหน่ายหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ของร้านหนังสือเชนสโตร์ร้านหนังสืออิสระและสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นจาก 3 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2558-2560) ถึงร้อยละ 33.3 จากยอดจำหน่ายปกติของเดือนธันวาคม ที่อยู่ประมาณ 670 ล้านบาท โดยเพิ่มเป็น 873.19 ล้านบาทนับว่ายอดจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์เฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงมากในเวลาเพียง ๑ เดือน และพบว่าประชาชนทั่วไปมีความต้องการให้ขยายเวลาของมาตรการภาษีเพื่อความสะดวกในการซื้อหนังสือได้ต่อเนื่อง
นายวิษณุ กล่าวต่อว่า สมาคมจัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทยมีแนวทางการส่งเสริมการตลาด โดยจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเทศกาลให้หนังสือเป็นของขวัญ Book for gift และผู้ประกอบการด้านสื่อสิ่งพิมพ์ได้เตรียมแคมเปญส่งเสริมการขาย รองรับมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการอ่านในครั้งนี้ เช่นร้านนายอินทร์ เตรียมจัด Roadshow ตามศูนย์การค้าต่างๆ ในเคมเปญมาตรการ“อ่านสร้างชีวิต พิชิตเป้าหมาย” จัดหนังสือชุดพิเศษ กลุ่ม How To Self Help วรรณกรรมและหนังสือธรรมะ ในราคา 2,000 และ 5,000 บาท พร้อมจัดโครงการส่งความรู้ สร้างความสุข ปี 2
โดยอํานวยความสะดวกเป็นช่องทางในการนําส่งหนังสือให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการกว่า 100 โรงเรียนทั่วประเทศ และประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการอ่านทาง อัมรินทร์ ทีวี และสื่อต่างๆในเครือฯบริษัท ซีเอ็ด บุ๊คเซ็นเตอร์ พร้อมจัด Roadshow ตามศูนย์การค้าฯ จัดโครงการ เพื่อน SE-EDมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่น “มีน้อย อ่านมาก” และกิจกรรม “ครูฝรั่งเล่านิทาน”กิจกรรมนักเขียนพบนักอ่าน และ workshop นักอ่านส่วน ร้าน Candide Books & Café จัดรายการส่งเสริม เช่น ซื้อหนังสือครบ 2,000 บาทแถมกระเป๋าผ้าร้าน B2S จะประสานห้างสรรพสินค้าต่างๆ จัดงานมินิบุ๊คแฟร์เพื่อเปิดพื้นที่ให้สำนักพิมพ์ขนาดเล็กมีช่องทางจัดจำหน่ายได้พบผู้อ่านโดยตรงและศูนย์หนังสือจุฬา ให้พื้นที่กับสำนักพิมพ์ต่างๆสามารถจำหน่ายหนังสือในศูนย์หนังสือของจุฬาได้ ด้านผู้ประกอบการด้าน E-BOOK จัดโปรโมชันซื้อครบยอดที่กำหนดสามารถอ่านหนังสือแบบบุฟเฟต์ฟรี ภายใน 1 ปี เพื่อส่งเสริมให้คนอ่านหนังสือมากขึ้นเป็นต้น
นอกจากนี้ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย ยังเตรียมจัดกิจกรรมเสวนารวมถึง Clip VDO เผยแพร่โดยเชิญ Idol / Influencer ที่ประสบความสําเร็จจากการอ่านประจำทุกเดือนในระหว่าง มิ.ย. – ธ.ค. 62 นี้ด้วยรัฐบาลคาดว่าหลังจากมีมาตรการนี้ จะส่งผลในทางบวกต่อกำลังซื้อของประชาชนโดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีความจำเป็นต้องจัดซื้อหนังสือเรียนให้กับบุตรหลานรวมทั้งประชาชนทั่วไปจะสามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการภาษีในการเพิ่มพูนประสบการณ์และความรู้จากการอ่านจนเกิดพฤติกรรม รักการอ่าน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ และ E-bookที่จะมีรายได้เพิ่มจากการผลิตและจำหน่ายหนังสือหรือการให้บริการ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้การดำเนินนโยบายด้านภาษีในครั้งนี้จะเกิดผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคมที่มีบทบาทสำคัญ เช่น กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงาน กศน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สำนักพิมพ์ร้านหนังสือ รวมทั้งพ่อแม่ครูและผู้ปกครองซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกันขับเคลื่อนวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริงในสังคมไทยต่อไป