สปสช. ชู “งานอนามัยแม่และเด็ก อ.วาปีปทุม” สร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เน้นสร้างเสริมบทบาทชุมชนร่วมดูแลสุขภาพแม่และเด็กในพื้นที่ ชื่นชม “โครงการจังหวัดไอโอดีน ยั่งยืน มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0)” ขับเคลื่อนจนเห็นผลเป็นรูปธรรม พร้อมเยี่ยมชม “ศูนย์เรียนรู้ สถานพัฒนาเด็กเล็ก นมแม่และเรียนรู้แบบบูรณาการ ของรพ.สุทธาเวช”คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส.) จัดศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยเห็นเป็นรูปธรรม
เมื่อเวลา 13.30 น.วันที่ 13 พฤษภาคม 2562 นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย นายแพทย์การุณ รองเลขาธิการสปสช. นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผอ.สปสช.เขต 7 ขอนแก่น และนายกษาปณ์ เงินรวง ผู้ช่วยผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และผู้บริหารธกส. พร้อมด้วย นพ.ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด มหาสารคาม นายวันชัย ศรีวงษ์ญาติดี นายอำเภอ วาปีปทุม และคณะผู้บริหาร
ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก ที่รพ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม รวมทั้งยังลงพื้นที่ดูพัฒนาการเด็กของเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม พร้อมมอบเกียรติบัตร และเข้าดูงาน “ศูนย์เรียนรู้สถานพัฒนาเด็กเล็ก นมแม่และเรียนรู้แบบบูรณาการ”โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่รพ.สุทธาเวช
ทั้งนี้ อำเภอวาปีปทุมดำเนินงานสร้างสุขภาพ รวมถึงงานอนามัยแม่และเด็กด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคีเครือข่าย ทั้งภาค ราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชนกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ เช่น สภาสตรี สภาวัฒนธรรม สภาฮักแพง ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยผ่านคณะกรรมากรพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ที่เน้นสร้างเสริมบทบาทของชุมชน โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ โรงเรียน ตามวิสัยทัศน์ “ประชาชนวาปีปทุมสุขภาพดี ภาคีมีส่วนร่วม ระบบบริการสุขภาพได้มาตรฐาน”
อย่างไรก็ตาม“งานที่ขับเคลื่อนได้เป็นรูปธรรมและเห็นผล คือ โครงการจังหวัดไอโอดีน ยั่งยืน มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0)” เป็นนโยบายจังหวัดมหาสารคามเพื่อพัฒนาสติปัญญาเด็ก สร้างคนมหาสารคามให้เป็นคนที่มีคุณภาพ ดำเนินงานภายใต้คณะอนุกรรมการ Smart Kids ฯ มีผู้แทนภาคเอกชน ภาคราชการและท้องถิ่น ตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ประธานชมรมผู้สูงอายุ นายกสมาคมผู้พิการ เป็นต้น รับงบสนับสนุนจาก อปท. โรงเรียน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ งบตามโครงการพระราชดำริ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนและเน้นเมนูไข่ โครงการคัดกรองเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มารับบริการในวันคลินิก เป็นต้น”
จากนั้น เดินทางไปลงพื้นที่ ศูนย์เรียนรู้ สถานพัฒนาเด็กเล็ก ส่งเสริมนมแม่และเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” ทีมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.เกรียงไกร โกวิทางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ศ.คลินิก พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร เลขานุการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย แลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อน การพัฒนาเเด็กปฐมวัย สู่ Thaland 4.0 ผ่านการ พัฒนาศูนย์เรียนรู้ สถานพัฒนาเด็กเล็ก นมแม่และเรียนรู้แบบบูรณาการ และเยี่ยมชม ศูนย์เรียนรู้ฯ
นพ.ศักดิ์ชัย ให้สัมภาษณ์ว่า การพัฒนาประชากรประเทศให้มีคุณภาพ อนามัยแม่และเด็กเป็นส่วนสำคัญเพื่อสนับสนุนให้เด็กไทยเจริญเติบโต มีสุขภาพที่ดี และมีพัฒนาการที่สมวัย กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบรรจุและพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่ออนามัยแม่และเด็กมาอย่างต่อเนื่อง แต่การจะดูแลเพื่อให้เกิดความครอบคลุมและทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ จำต้องอาศัยความร่วมมือจากเครื่องข่ายต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งเครือข่ายงานอนามัยแม่และเด็กอำเภอวาปีปทุม เป็นหนึ่งในเครือข่ายที่ร่วมผลักดันได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ อำเภอวาปีปทุมดำเนินงานสร้างสุขภาพ รวมถึงงานอนามัยแม่และเด็กด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคีเครือข่าย ทั้งภาค ราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ ภาคเอกชนกลุ่มพลังมวลชนต่างๆ เช่น สภาสตรี สภาวัฒนธรรม สภาฮักแพง ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยผ่านคณะกรรมากรพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เน้นสร้างเสริมบทบาทของชุมชน โดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ โรงเรียน ตามวิสัยทัศน์ “ประชาชนวาปีปทุมสุขภาพดี ภาคีมีส่วนร่วม ระบบบริการสุขภาพได้มาตรฐาน” ด้วยพันธกิจ 4 พันธกิจ ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ คือ
1.ส่งเสริมสนับสนุนประชาชนและภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพให้มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อสร้างสุขภาวะอย่างยั่งยืน 2.พัฒนา ระบบบริการด้านสุขภาพให้ได้มาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ 3.พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน และ 4.พัฒนาระบบบริหารจัดการ ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยเครือข่ายสุขภาพวาปีปทุมมีค่านิยมร่วมกันคือ WAP I(Working,Attitude, People centered, Integrated)
“งานที่ขับเคลื่อนได้เป็นรูปธรรมและเห็นผล คือ โครงการจังหวัดไอโอดีน ยั่งยืน มุ่งสู่เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0)” เป็นนโยบายจังหวัดมหาสารคามเพื่อพัฒนาสติปัญญาเด็ก สร้างคนมหาสารคามให้เป็นคนที่มีคุณภาพ ดำเนินงานภายใต้คณะอนุกรรมการ Smart Kids ฯ มีผู้แทนภาคเอกชน ภาคราชการและท้องถิ่น ตัวแทนผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ประธานชมรมผู้สูงอายุ นายกสมาคมผู้พิการ เป็นต้น รับงบสนับสนุนจาก อปท. โรงเรียน กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนสุขภาพตำบล) งบตามโครงการพระราชดำริ เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนและเน้นเมนูไข่ที่ผสมด้วยสารอาหารต่างๆลงไปให้ได้ตามโภชนาการ เช่น ไข่ตุ๋นทศกัณฑ์ที่มีหลายหน้า ,ไข่ในหิน โครงการคัดกรองเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มารับบริการในวันคลินิก เป็นต้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนของ “ศูนย์เรียนรู้ สถานพัฒนาเด็กเล็ก ส่งเสริมนมแม่และเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม”ทำนั้นมีวัตถุประสงค์จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์บริการศึกษาและพัฒนาด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย กลุ่มเด็กเล็ก 3 เดือน – 3 ปี แบบองค์รวม พัฒนาหลักสูตร เนื้อหาและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการศึกษาและดูแลเด็กปฐมวัย (ECEC) สำหรับเด็กช่วงวัยเด็กเล็ก และเผยแพร่และจัดอบรมหลักสูตร เนื้อหาและแนวปฏิบัติที่ดีของ ECEC ที่พัฒนา ให้แก่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยอื่นๆ ทั่วประเทศ เนื้องด้วยทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเฉพาะ รพ.สุทธาเวช ของมหาวิทยาลัยมมส.นั้น พบว่า เด็กมหาสารคามมีปัญหาด้านพัฒนาการล่าช้า มีไอคิวต่ำเฉลี่ย 95.09 จาก 100% เป็นลำดับที่ 60 ของประเทศ(ข้อมูลปี 2559)
ประกอบกับผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามเห็นความสำคัญ ได้ประกาศนโยบาย เด็กตักสิลา 4.0 (Smart Kids Taksila 4.0)” โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมาเป็นต้นไป มีเป้าหมายคือให้เด็กมหาสารคาม ดี เก่ง และมีความสุข อีกทั้งยังมีโครงการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กให้ได้มาตรฐาน จากการสำรวจข้อมูลจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 แห่งใน 13 อำเภอ โดยมูลนิธินมแม่ประเทศไทยร่วมกับรพ.สุทธาเวชของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พบว่าคุณภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของรพ.สุทธาเวชมีคุณภาพ เด็กที่เรียนอยู่ในศูนย์เป็นไปตามมาตรฐานคู่มือ DSPM
ด้านนายแพทย์ปรีดา กล่าวว่า ในส่วนของ สปสช. เขต 7 ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการจัดงบประมาณสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ให้กับหน่วยงานเพื่อจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา เช่น โครงกาารบูรณาการประเด็นปัญหาการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ของจังหวัดมหาสารคาม ปี 2560 โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, โครงการตำบลบูรณาการจัดการระบบเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี ในชุมชนด้วยการจัดการค่ากลาง โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที 7, โครงการดูแลเด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม พื้นที่เขต 7 ปีงบประมาณ 2561 โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, โครงการส่งเสริมเด็กดี เด็กเก่ง และมีความสุข ในศูนย์เด็กเล็ก จังหวัดขอนแก่น โดยโรงพยาบาลขอนแก่น, โครงการส่งเสริมเด็กร้อยแก่นสารสินธุ์ เก่ง ดี มีสุข (Smart Kids@Health Area 7) โดยศูนย์อนามัยที่ 7 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่งเสริมนมแม่ และเรียนรู้แบบบูรณาการ ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย กลุ่มเด็กเล็ก 3 เดือน – 3 ปี แบบองค์รวม
ปัจจุบันมีเด็กในความดูแล 20 คน มีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ 5 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ 1 คน, ครูปฐมวัย 1 คน, นักโภชนาการ 1 คน และครูพี่เลี้ยงเด็ก 2 คน ส่วนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พัฒนาทักษะชีวิตผ่านการเล่นแบบบูรณาการ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการดูแลเด็กต่าง ๆ ทั้ง ภูมิปัญญาวิธีการเลี้ยงดูเด็กแบบไทย, แนวทางของกรมอนามัย และใช้อุปกรณ์เครื่องมือตามบริบทท้องถิ่นของชาวจังหวัดมหาสารคาม นำมาจัดเป็นชุดกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการที่สมวัยทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา ภาษา จริยธรรม และความคิดสร้างสรรค์.
ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.เทพลักษ์ ศิริธนะวุฒิชัย คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวเสริมว่า ศูนย์เรียนรู้ สถาบันพัฒนาเด็กเล็กฯ ยังได้จัดบริการส่งเสริมสุขภาพและกระตุ้นพัฒนาการเด็กช่วงวัย 3 เดือน- 3 ปี และเน้นการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การพัฒนาทักษะชีวิตผ่านการเล่นแบบบูรณาการ โดยประยุกต์ใช้แนวทางการดูแลเด็กต่าง ๆ ทั้งภูมิปัญญาวิธีการเลี้ยงดูเด็กแบบไทย แนวทางของกรมอนามัย Montessori, High Scope, Brain Based Learning, การพัฒนาทักษะ Executive Function และใช้อุปกรณ์เครื่องมือตามบริบทท้องถิ่นของชาวจังหวัดมหาสารคาม นำมาจัดเป็นชุดกิจกรรมประจำวัน เป็นต้น โดยทางมูลนิธินมแม่ประเทศไทยทำร่วมกับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯรพ.สุทธาเวช ซึ่งใช้เวลาถึง 6 ปีเห็นผล จึงเป็นที่มาที่จ.มหาสารคามมีประกาศนโยบายเด็กตักสิลา 4.0