สปสช.เยี่ยมชม การบริหารจัดการเทศบาลตำบลเขาดิน จ.สุพรรณบุรี ต้นแบบการบริหารกองทุนสุขภาพฯในท้องถิ่น ที่แนะการบริหารโดยแบ่งเป็น “เกาะโซน”ตามบริบทของชุมชน

438

เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2562 นายแพทย์รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) นางทิพาพรรณ  หอศิวาลัย ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สปสช.เขต 5 ราชบุรีในฐานะรับผิดชอบพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี ลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตัวอย่างที่ดีในการจัดการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค สร้างสุขภาพด้วยความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนที่ร่วมเป็นกรรมการในการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่สำนักงานเทศบาลตำบลเขาดิน อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรรณบุรี ภายใต้กองทุนสุขภาพ หลักประกันสุขภาพฯระดับตำบล

โดยมีนายวิสุทธิ์ พุทธคาวี ปลัดเทศบาลตำบลเขาดิน พร้อมด้วย นางสาวสถิตาพร สถาปิตานนท์ นายกเทศมนตรีตำบลเขาดิน ที่ได้ร่วมกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุข  รพ.สต.เขาดิน และรพ.สต.บ้านหนองแขม ผู้บริหาร นักเรียน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำทุกหมู่บ้านในชุมชน ร่วมให้การต้อนรับ

นายแพทย์รัฐพล เตรียมวิชานนท์ ผู้ช่วยเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า “กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ที่เรียกสั้นๆ ว่า กองทุนฯตำบล เป็นกองทุนที่ตั้งขึ้นโดยสปสช. ตามพ.ร.บ.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) สบทบงบประมาณจำนวน 45 บาทต่อจำนวนประชากรในพื้นที่ และอบต.ได้สมทบเพิ่มเติมตามความพร้อม ในแต่ละเรื่อง ที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของ สปสช.เขต5 ราชบุรี เป็นหน่วยงานประสานระหว่างส่วนกลางกับหน่วยงานในท้องถิ่นที่สังกัดแต่ละกระทรวง อาทิ เทศบาล, ตำบล  ที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

อย่างเช่น กองทุนสุขภาพฯ เทศบาลตำบลเขาดิน นี้ ปีงบประมาณ 2562 สปสช.สมทบ จำนวน 254,205 บาท และเทศบาลเขาดิน สมทบจำนวน 127,103 บาท  โดยภาพเขต 5 ราชบุรี ที่มีทั้งหมด 667 กองทุนที่เข้าร่วมดำเนินการ ที่มีงบประมาณทั้งจาก สปสช.และสมทบจากอบต./เทศบาล รวมเงินประมาณ 944,837,221.98 บาท จังหวัดสุพรรณบุรี มีจำนวน 125 กองทุน รวมเงินประมาณ 156,859,028.46 บาท

นายแพทย์รัฐพล กล่าวต่อว่า จากที่ สปสช.สมทบในการร่วมกันดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่  และจากที่ได้ติดตามจากข้อมูลที่รายงานและลงเยี่ยมพื้นที่ครั้งนี้ จะเห็นว่าประชาชนทุกภาคส่วนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมที่หลากหลาย สามารถนำเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ตำบลอื่นได้ แม้ว่าตำบลเขาดินนี้ เป็นตำบลที่มีวิถีชีวิตทั้งที่เป็นชุมชนเมือง ชุมชนชนบท มีหมู่บ้านชุมชนย่อยๆ และถือว่าเป็นตำบลติดชายแดน รอยต่อกับจังหวัดสิงห์บุรีและจังหวัดอ่างทอง เทศบาลตำบลเขาดิน ตั้งอยู่ถนนสายสุพรรณบุรี-สิงห์บุรี ตำบลเขาดิน เป็นตำบลที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตร และเริ่มมีสภาพชุมชนแบบผสมทั้งชุมชนชนบทและชุมชนเมือง แต่ในตำบลนี้เอง ได้นำเทคโนโลยีการสื่อสาร หรือสภาพการสื่อสารที่เปลี่ยนไป ชุมชนใช้โทรศัพท์มือถือกันทุกครัวเรือน ทุกบ้าน  แต่เสียงตามสายในตำบลเอง

มีปัญหาที่สายชำรุดบ่อยๆ จึงได้มีการนำ “เสียงไร้สาย ผ่านวิทยุสื่อสาร” นำมาให้แต่ละชุมชน ที่ปลัดเทศบาลเขาดินและนายกอบต.เขาดินใช้ชื่อว่า เกาะ/โซนหมู่บ้าน(1-20 คนต่อครัวเรือน) ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของ ต.เขาดิน ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1,600 หลังคาเรือน ด้วยการทำงานที่ 1 เกาะจะมีประมาณ 15-20 หลังคาเรือน และให้เกาะหรือโซนนั้นเลือกผู้นำขึ้นมาเพื่อประสานกับหน่วยงานต่างๆด้วยการทำงานแบบมีส่วนร่วมของผู้นำที่มีจิตอาสาหรือเป็นผู้ให้กับชุมชนหรือเกาะนั้นๆไว้สำหรับสื่อสาร ปกครอง ดูแลช่วยกันพัฒนาชุมชนตนเอง และมีกลุ่มไลน์ที่สื่อสารกันในตำบล ที่มีผู้นำแต่ละโซนเข้าร่วมกลุ่ม

ในกรณีที่จะมีการรณรงค์ หรือสื่อสารเรื่องสุขภาพใดๆ จะสื่อสารผ่านเสียงไร้สาย และกลุ่มไลน์ พร้อมแบ่งโซนช่วยกันพัฒนาในแต่ละกลุ่ม  แต่ละโชนจะมีป้ายบอกทาง ป้ายเตือน บอกเบอร์ บอกเหตุฉุกเฉินต่างๆ โดยที่แต่ละกลุ่ม/โซนหมู่บ้าน จะมีการประชุมกันเกือบทุกเดือน เพื่อร่วมกันพัฒนาชุมชนตนเอง  และการบริหารจัดการกองทุนฯตำบลเช่นกัน ก็จะผ่านประชาคมของตำบล ประชาคมของแต่ละเกาะโซน แล้วนำเสนอผ่านตัวแทนกรรมการกองทุนฯตำบล จัดทำแผนงาน พิจารณาโครงการ และจัดทำโครงการร่วมกัน

โดยที่หากมีความจำเป็นใดๆ อื่นๆที่นอกเหนือจากระเบียบของการใช้จ่ายเงิน นอกเหนือการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ที่เป็นภารกิจของเทศบาล  ทางเทศบาลก็จะสมทบกิจกรรมอื่นๆ พิจารณากิจกรรมต่างๆ โดยใช้งบของเทศบาลเพิ่มเติม เช่น เทศบาลจัดระบบ มีรถตู้ รับส่ง เพื่อนำผู้ป่วยไปตรวจ/รักษา ตามอาการ ตามแพทย์นัด ให้แก่ประชาชนที่มีปัญหาในการรับส่ง หรือไปโรงพยาบาล สามารถขอความช่วยเหลือจากเทศบาล ผ่านผู้นำเกาะ/โซนหมู่บ้านได้ และยังมีอีกหลายกิจกรรมที่ทำหลากหลาย เช่น มีการตรวจคัดกรองโรค ค้นหากลุ่มเสี่ยง มาร่วมกันดูแล  มีการแบ่งทีม อสม./ผู้นำชุมชน ช่วยกันป้องกันและแก้ไขปัญหา มีแหล่งออกกำลังกาย ศูนย์ฟิตเนตที่ทุกคนอยากได้ และมาร่วมออกกำลังกายกันเมื่อว่าง จัดเป็นชมรมรักสุขภาพ และมาร่วมสนุกสนาน ได้เล่นพูดคุยกันอย่างใกล้ชิด ยามเย็น ทุกเย็นด้วยกิจกรรมออกกำลังที่สนุกสนาน เหมาะตามวัย  ที่ร่วมกันออกแบบเฉพาะให้เป็นไปตามความต้องการแต่ละกลุ่ม จึงทำให้ลงมาดูพื้นที่เพื่อเป็นกำลังใจในการทำงานต่อไป

ด้านนางสาวสถิตาพร สถาปิตานนท์ นายกเทศมนตรีตำบลเขาดิน กล่าวว่า เทศบาลเขาดิน มีประชากรจำนวน 6,047 คน 1,960 หลังคาเรือน มีพื้นที่ 31.78 ตารางกิโลเมตร/19,803 ไร่ มีผู้ประสานงาน 87 เกาะ/โซนหมู่บ้าน  โซนหนึ่งจะดูแล ประมาณ 15 – 20 ครัวเรือน ได้รับเงินจัดสรรทั้งจาก สปสช.และเทศบาล ประมาณ 381,308 บาท  โดยมีแผนงาน/โครงการ จำนวน 15 โครงการ ที่หลายภาคส่วนร่วมกันดู ไม่ว่าจะเป็น รพ.สต.เขาดิน/รพ.สต.บ้านหนองแขม ร่วมวางแผนและตกลงเขียนโครงการเสนอให้กรรมการพิจารณาดำเนินการตามความจำเป็นที่ต้องดำเนินการและผู้นำชุมชน ก็ร่วมกันจัดทำโครงการ พิจารณาโครงการ ดำเนินการร่วมกันในลักษณะกลุ่มจิตอาสา ด้วยความกระตือรือร้น สนุกสนาน ให้ความร่วมมือดีมาก จัดกิจกรรมแต่ละครั้ง จะมากันช่วยกันเป็นจำนวนมาก

เช่นเมื่อมีการจัดการแยกขยะ ก็มาช่วยกัน  เมื่อลงเยี่ยมบ้าน เยี่ยมผู้ป่วย ต้องร่วมกันทำความสะอาด จัดสภาพแวดล้อมบ้านของผู้ป่วย หรือจัดทำความสะอาดแต่ละโซน ก็มาร่วมอาสาทำกันอย่างคึกคัก ส่งตัวแทนมาเกือบทุกครัวเรือน

นายกเทศมนตรีตำบลเขาดิน กล่าวต่อว่า อย่างเช่น ที่ผ่านมา เทศบาลตำบลเขาดิน  มีปัญหาเรื่องการจัดการขยะ แต่ละปี มีขยะมากกว่า 4 ตัน(4,000 ก.ก.) ต่อวัน จึงได้มีการจัดประชุม ประชาคมตำบล และร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์ สู่การปฏิบัติร่วมกันจัดการขยะตามหลัก 3 S  คือ ให้ทุกบ้านช่วยกันลดปริมาณขยะ  รณรงค์ให้นำวัสดุเดิมกลับมาใช้ใหม่ และนำขยะที่เหลือใช้มาทิ้ง หรือบริจาค แล้วทางชุมชน/เทศบาลนำมาคัดแยกขยะไปขายเพื่อนำมาแปรรูปใช้ใหม่  รวมทั้งได้มีการสนับสนุนโรงเรียนให้ร่วมดำเนินการกันระหว่างนักเรียนและผู้ปกครองให้ร่วมกันจัดการด้วยเช่นกัน ทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยเข้ามาร่วมกัน ซึ่งเป็นงบหนึ่งในหลายกิจกรรมที่กองทุนฯตำบล ได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องในการดูแล ส่งเสริมสุขภาพ รับผิดชอบดูแลกันตลอดโครงการ โดยมีกลุ่มแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ทีมสหวิชาชีพในการเยี่ยมบ้าน รับส่งต่อเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการ ทั้งนี้ มีหลายชุมชนที่ภาคภูมิใจที่สามารถประคับประคองให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตปกติ และมาร่วมทำงานให้สังคมได้  

อย่างกรณีที่จะลงพื้นที่ที่เยี่ยมบ้าน คือ นางแฟ้ม บุญปกครอง อายุ 73 ปี ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม ที่ต้องไปรักษาตัวเป็นประจำ และไม่สะดวกในการเดินทางไปโรงพยาบาล จึงได้รับความช่วยเหลือจากเทศบาล จัดรถตู้รับส่ง รักษาตามนัด และจิตอาสา ร่วมกันไปจัดทำความสะอาด สิ่งแวดล้อมของบ้านในช่วงที่นางแฟ้มป่วย ที่ยังไม่สามารถช่วยตนเองได้ ก็จะมีผู้นำ เพื่อนบ้าน ไปร่วมดัวยช่วยกัน