นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วยนายแพทย์ชาตรี เจริญชีวะกุล ผอ.สำนักส่งเสริมการมีส่วนร่วม สปสช.,นายวีระชัย ก้อนมณี ผอ.สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพชุมชน สปสช., แพทย์หญิงลลิตยา กองคำ ผอ.สปสช.เขต 9 นครราชสีมา
ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD) เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคอ้วนลงพุง มะเร็ง ที่อบต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งมี นายวัชพล จอนเกาะ เป็นนายกอบต.บ้านเกาะ ได้ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)ขนาย โดยมีนางธิดารัตน์ นิ่มกระโทก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สภ.ขนายเป็นผู้ดูแล ด้วยงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น(กองทุนตำบล) ที่สปสช.ให้งบสนับสนุนการทำงานด้านสุขภาพ 50% และท้องถิ่นสมทบให้ 50% มาจัดสรรตามแผนงาน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562ที่ผ่านมา
รพ.สต.ขนายเป็นหน่วยบริการในพื้นที่ในการเข้ามาช่วยส่งเสริมสุขภาพของชาวบ้านด้วยการคัดกรองค้นหากลุ่มเสี่ยงการเกิดโรค NCD เช่น เบาหวาน ความดัน และภาวะโรคหัวใจ เบื้องต้น รวมทั้งการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ หากใครที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็จะส่งต่อไปยังรพ.มหาราช นครราชสีมา
อีกทั้งยังได้นำชมกิจกรรมการสนับสนุนงบกองทุนตำบล ในการให้ความรู้กับชาวบ้านรวมทั้งนักเรียนให้มีความรู้ในการป้องกัน เพื่อแก้ไขปัญหาโรค NCD หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่
นางธิดารัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ขนาย ให้สัมภาษณ์ถึงการดำเนินงานด้านสุขภาพร่วมกับทางอบต.บ้านเกาะว่า โรค NCD ของไทยพบว่ามีถึง 18 ล้านคน และเป็นสาเหตุหลักการเสียชีวิตของประชากรทั้งประเทศ ปี 2559 พบว่ามีประชากรเสียชีวิตมากกว่า 4 แสนคน โดยเสียชีวิตจากโรค NCD สูงสุดถึง 6 โรค ได้แก่ เบาหวาน ความดัน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคอ้วนลงพุง และจากการที่เราตรวจคัดกรองชาวบ้านด้วยการลงไปในพื้นที่ ประกอบด้วย การซักประวัติเรื่องพฟติกรรมสุขภาพรวมทั้งโรคประจำตัว มีการวัดความดันโลหิต การตรวจชีพจร การตรวจหาระดับน้ำตาล และการนำกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCD มาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในการดูแลรักษา ซึ่งพบว่ากลุ่มสึ่ยงต่อโรคNCD มีอายุมากว่า 35 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน
นางธิดารัตน์ กล่าวต่อว่า รพ.สต.ขนายจึงรุกเข้าไปในพื้นที่เพื่อคัดกรองผู้ทีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงและต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งในการคัดกรองโรคหรือกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCD จะใช้แกนนำ อสม. ผู้นำชุมชน เข้าไปประชาสัมพันธ์หรือนัดรวมตัวกันในช่วงวันหยุดหรือตอนเย็นหลังเลิกงาน รวมถึงให้ความรู้ ช่วงแรกๆก็ยังไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีเพราะชาวบ้านยังไม่เห็นความสำคัญ แต่พอทำให้เห็นและมีการบอกต่อ ชาวบ้านเริ่มเข้าใจและเข้ามาตรวจสุขภาพบ่อยมากขึ้น จนทำให้ลดกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDไปได้มาก
ส่วนในช่วงบ่าย นายวัชรพล จอนเกาะ นายก อบต.บ้านเกาะ และนางธิดารัตน์ นิ่มกระโทก พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สต.ขนาย ให้การต้อนรับ และนำนายแพทย์ศักดิ์ชัยพร้อมคณะ ลงเยี่ยมบ้านนางหอม เดชสีพรม อายุ 77 ปี จากเดิมเป็นผู้ป่วย เบาหวาน ความดัน และมะเร็งเต้านม เป็นผู้ป่วยติดเตียงมานานถึง 2 ปี แต่เมื่อชุมชน อบต.และรพ.สต. แคร์กิฟเวอร์หรืออาสาสมัคร เข้ามาดูแลผู้สูงอายุ อย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจาก รพ.และแคร์กิฟเวอร์ ของ รพ.สต.ขนาย จ.นครราชสีมา และส่งต่อไปยังรพ.มหาราช นครราชสีมา จนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติ
ด้านนายแพทย์ศักดิ์ชัย ให้สัมภาษณ์หลังเยี่ยมบ้าน นางหอม เดชสีพรม ผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลจากทีมแคร์กิฟเวอร์ และรพ.สต.ในพื้นที่ ว่า การส่งเสริมป้องกันโรคเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆได้ ทำอย่างไรไม่ให้เจ็บป่วย แต่ถ้าเกิดเจ็บป่วย แล้วก็ต้องดูแล ชุมชนต้องเข้ามามีส่วน หรือ ถ้ายังไม่เจ็บป่วย ต้องร่วมป้องกันให้มีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งมีโรคที่เกิดจากพฤติกรรม เช่นเบาหวาน ความดัน ฯลฯ โรคเหล่านี้ป้องกันได้ ทำอย่างไรให้ชุมชนเป็นฐาน ท้องถิ่นเข้ามาช่วยดูแล ดังนั้นการป้องกัน ส่งเสริม ก็ต้องปรับพฤติกรรมทำให้สุขภาพดีขึ้น หน่วยบริการก็มีความสำคัญ ยังมีท้องถิ่น ที่นี่มีกองทุนท้องถิ่น อบต.บ้านเกาะ เน้นค้นหาปัญหาเอง แก้ปัญหาเอง โดยใช้หลักท้องถิ่นดูแมชนตามหลักของพื้นที่ ทั้งสุขภาพทางกาย และสุขภาพทางใจที่ทำให้ผู้ป่วยดีขึ้น
เลขาธิการ สปสช. กล่าวต่อว่า กรณี ป้าหอม เดชสีพรม นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดว่าชุมชน ระบบสาธารณสุขในท้องถิ่นเข้ามาดูแลและให้ความสำคัญ โดยการยึดหลักเป็นเหมือนครอบครัวเดียวกัน จากเดิมป้าหอมซึ่งเป็นผู้ป่วย เบาหวาน ความดัน มะเร็ง และทราบว่าเป็นผู้ป่วยติดเตียงมานานถึง 2 ปี แต่เมื่อชุมชน อบต.และรพ.สต. แคร์กิฟเวอร์เข้ามาดูแล อย่างใกล้ชิด ทำให้ปัจจุบันนี้ ป้าหอม สามารถเดินเองได้ ออกกำลังกาย แกว่งแขนเอง นับเป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง น่าชื่นชม ทำให้เห็นว่า ความร่วมมือของท้องถิ่น เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยให้คนในชุมชนมีสุขภาพดี เกิดการพึ่งพาห่วงใย ทำให้บ้านเหมือนเป็น รพ. และมีพยาบาลมาเยี่ยมบ้าน ดูแลต่อเนื่องเหมือนคนในครอบครัว ซึ่งก็เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วม และไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางหอม เดชสีพรม อายุ 77 ปี อยู่บ้านเลขที่ 286/120 หมู่6 ต.บ้านเกาะ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ในปี 2549 มีการตรวจคัดกรองแล้วพบความดันสูงและกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน การรักษาคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและยาความันโลหิตสูง
ปี 2560 คัดกรองและพบก้อนเนื้อที่เต้านม ส่งต่อรพ.มหาราช นครราชสีมา ผ่าตัดเต้านมและให้เคมีบำบัด ขณะให้เคมีบำบัดครั้งที่ 1 อ่อนแรง เหนื่อยง่าย ผอม นอนติดเตียง ใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้ไม่อยากไปให้เคมีบำบัดต่อ ได้ดูแลเยี่ยมบ้านโดยทุกภาคส่วน และดูแลให้เคมีบำบัดจนครบ
ปี 2561-2562 ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เอง ขับถ่ายปกติ วินิจฉัยโรคล่าสุด โรคความดันโลหิตสูง และโรคมะเร็งเต้านมได้รับการผ่าตัดแล้ว มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและทานยาความดันโลหิตสูง รวมทั้งมีแคร์กิฟเวอร์ มาเยี่ยมบ้าน