เลขาฯสปสช.ลงพื้นที่ เยี่ยมชม การดูแลผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุบลฯต้อง เข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพ

537

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 นายแพทย์ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสปสช., นพ.เรืองศิลป์ เถื่อนนาดี ผอ.สปสช.เขต10 อุบลราชธานี

ลงพื้นที่เยี่ยมชมศึกษาดูงาน “การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขัง เรือนจำกลางอุบลราชธานี”ให้เขาถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพ โดยมีนายสมบูรณ์  ศิลา ผู้บัญชาการเรือนจำกลางอุบลราชธานี  และเจ้าหน้าที่เรือนจำกลางอุบลราชธานีให้การต้อนรับ พร้อมกันนี้ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานการจัดการบริการสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุบลราชธานี

โดยมี นายสมบูรณ์ ศิลา ผู้บัญชาการเรือนจำกลางอุบลราชธานี., นพ.วิรัตน์ ลือวิเศษไพบูลย์ ประธาน อคม., นพ.พิทักษ์พงษ์ จันทร์แดง รอง นพ.สสจ.อุบลราชธานี และนพ.ปราโมทย์ ศรีสำอางค์ รอง ผอ.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ รวมถึงนายจักรพันธ์ จรัสโชติอำไพ หัวหน้าพยาบาลเรือนจำกลางอุบลฯ

นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า  เรือนจำกลางจังหวัดอุบลราชธานี ดูแลสุขภาพของผู้ต้องเรือนจำให้ได้รับสิทธิ และบริการสุขภาพเท่าเทียมกับประชาชนทั่วไป ตามนโยบายไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และทำให้คนข้างในเรือนจำได้รับสิทธิเท่าบุคคลภายนอก พบว่าเรือนจำกลางฯ ปัจจุบันมีผู้ต้องขังรวม 6,885 คน แบ่งเป็นผู้ต้องขังชาย 6,235 คน ผู้ต้องขังหญิง 650 คน มีความหนาแน่น 

ส่วนใหญ่โรคที่พบ มีทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ, โรคอุจจาระร่วง, โรคผิวหนัง หิด กลากเกลื้อน การดูแลในปัจจุบันได้มีแพทย์จิตอาสา และทันตแพทย์ ทันตภิบาลจากรพ.สรรพสิทธิประสงค์ คัดกรอง ตรวจรักษา และมาหมุนเวียนให้บริการผู้ต้องขังในเรือนจำเมื่อเกิดเจ็บป่วย

 

ด้านนายสมบูรณ์ กล่าวว่า ปัญหาความแออัดภายในเรือนจำยังมีอยู่ต่อเนื่องเพราะเป็นปัญหาปลายทาง ต้นทางคือการรับผู้ต้องขังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปัญหาของความแออัดในเรือนจำส่งผลให้ปีที่ผ่านมา มีผู้ต้องขังป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จำนวนมาก  การได้รับงบประมาณและวัคซีนอาจไม่เพียงพอ จึงเน้นการทำความสะอาดร่วมด้วย โดยเฉลี่ยทำความสะอาดอาทิตย์ละครั้ง และการย้ายผู้ต้องขังไปจังหวัดอื่นแทน  อย่างไรก็ตามการรักษาพยาบาลผู้ต้องขังในเรือนจำ เป็นไปตามสิทธิของหลักประกันสุขภาพ เพราะเป็นสิทธิพื้นฐานของคนไทยทุกคนที่พึ่งได้รับ 

ด้าน นพ.พรเจริญ เจียมบุญศรี  แพทย์ประจำเรือนจำกลางอุบลราชธานี ในฐานะจิตอาสา  กล่าวว่า ตนมาเป็นจิตอาสาให้เรือนจำหลังเกษียณอายุราชการได้ 3 ปีแล้ว ปัจจุบันอายุ 63 ปี การดูแลผู้ป่วยในเรือนจำส่วนใหญ่นอกจากเป็นโรคพื้นฐานทั่วไปที่ให้บริการตรวจทุกวัน วันละ 3 ชม.ยังมีโรคอื่นๆ อาทิ เอดส์ และบริการทันตกรรม ซึ่งที่ผ่านมาการตรวจสุขภาพช่องปากให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำ จะทำเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งไม่เพียงพอยังมีจำนวนผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากมาก เฉลี่ยวันละ 4-5 คน 

ในปีงบประมาณ 2563 ทางเรือนจำกลางฯ ได้มีการจัดสร้างคลินิกทันตกรรมและนำทันตาภิบาลมาตรวจสุขภาพช่องปาก บริการถอนฟัน ให้ผู้ต้องขังในเรือนจำได้เฉลี่ยสัปดาห์ละครั้ง  ทั้งนี้ ก่อนเกษียณตนเคยเป็น ผู้อำนวยโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม และ ผอ.รพ. ๕๐ พรรษามหาวชิราลงกร จ.อุบลราชธานี ซึ่งการทำงานทั้ง2แห่งนี้ คือโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และได้รับการปลูกฝังให้ทำเพื่อประชาชนในฐานะที่เป็นข้าราชการในสมเด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10  ด้วยการน้อมนำพระราชดำริ เรื่องจิตอาสา และใช้ระยะเวลาหลังเกษียณอายุราชการทำประโยชน์ให้แผ่นดินก็เหมือนประหนึ่งทำงานให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 อีกเช่นกัน 

ด้านนายจักรพันธ์ กล่าวว่า เรือนพยาบาลในเรือนจำกลางอุบลฯ มีเรือนชาย เรือนหญิง และเรือนตรวจพิสูจน์ พวกสารเสพติด การบำบัดฟื้นฟู  ผู้ต้องขังที่อยู่ในเรือนจำแห่งนี้จะมีโทษไม่เกิน 30 ปี ซึ่งเรือนพยาบาลในเรือนจำ ตรวจรักษาผู้ต้องขังคล้ายๆกับ รพ.สต.ที่อยู่ข้างนอก เช่น ตรวจรักษาโรคทั่วไป ฉีดยา ทำแผล และมีห้องที่ผู้ต้องขังต้องนอนเป็นผู้ป่วยในจำนวน 4 ห้อง ในการคอยสังเกตุอาการ ซึ่งผู้ต้องขังจะได้รับการดูแลรักษาเท่าเทียมกันหมด