เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2565 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อม พญ.วลัยรัตน์ ไชยฟู รองผอ.สปสช.เขต 1 เชียงใหม่ และคณะสื่อมวลชน เดินทางลงพื้นที่โรงพยาบาลเชียงคำ อ.เชียงคำ จ.พะเยา รับฟังบรรยายสรุป เรื่อง “การจัดบริการ One Day Surgery (ODS)” โรงพยาบาลเชียงคำ จ.พะเยา และลงเยี่ยมผู้ป่วยที่ได้รับการการผ่าตัดข้อเข่าเทียมแล้ว และ ลงพื้นที่ดูแลผู้ป่วยที่ได้ในพื้นที่ห่างไกลผ่านระบบเทเลเมดิซีน โดยมี นายแพทย์ประพัฒน์ ธรรมศร รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และแพทย์หญิงสมรัก ภูติยานันต์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพและสนับสนุนบริการสุขภาพ สรุปภาพรวมและแลกเปลี่ยนตามแนวทางการจัดบริการ One Day Surgery (ODS) ณ ห้องประชุม รพ.เชียงคำ
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า โรงพยาบาลเชียงคำเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 231 เตียง นอกจากดูแลประชากรในพื้นที่แล้ว ยังรับส่งต่อผู้ป่วยจาก อ.เชียงม่วน อ.จุน อ.ปง อ.ภูซาง และบางส่วนจาก อ.เทิง จ.เชียงราย ซึ่งด้วยความเป็นโรงพยาบาลทั่วไป จึงมีความพร้อมในการจัดบริการที่ต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง ผ่าตัดวันเดียวกลับ, เทเลเมดิซีน, การผ่าตัดข้อเข่าเทียม ซึ่งบริการเหล่านี้ เป็นชุดสิทธิประโยชน์ที่ สปสช. สนับสนุนให้หน่วยบริการจัดบริการแก่ประชาชนอยู่แล้ว และโรงพยาบาลเชียงคำก็สามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้นทุกปี
ทพ.อรรถพร กล่าวต่อว่า จากการรับฟังข้อมูลของรพ.เชียงคำ พบว่า ข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้การเติบโตของบริการแบบก้าวกระโดด มีสัดส่วนเกือบเท่ากับการผ่าตัดแบบปกติ ซึ่งผลที่ได้รับคือช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการหารายได้ของผู้ป่วยที่ต้องลางานมานอนโรงพยาบาลนานหลายวัน ลดความแออัดและลดระยะเวลารอคอยอีกด้วย โดยเฉพาะการติดตามอาการโดยผ่านระบบเทเลเมดิซีน ที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่ารถและค่าอื่นๆเพื่อเดินทางไปรพ.น่าเป็นตัวอย่างที่ดีและน่าชื่นชมของรพ.เชียงคำที่จัดสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุม
แพทย์หญิงสมรัก ภูติยานันต์ หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการสุขภาพและสนับสนุนบริการสุขภาพ พร้อมคณะ กล่าวว่า ในการให้บริการ เช่น การผ่าตัดวันเดียวกลับและการผ่าตัดแผลเล็กซึ่งโรงพยาบาลเชียงคำเริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปี 2561 ปัจจุบันสามารถทำหัตถการได้กว่า 20 กลุ่มโรค มีจำนวนผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเพิ่มขึ้นจาก 8 รายในปี 2561 เป็น 242 รายในปี 2565 และสัดส่วนการรับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบปกติก็เพิ่มขึ้น จาก 2.27% ในปี 2561 มาเป็น 43.97% ในปี 2565
พญ.สมรัก กล่าวว่า ส่วนการผ่าตัดแผลเล็ก ก็มีการเพิ่มรายการโรคและหัตถการมากขึ้นทุกปี ช่วยลดวันนอนในโรงพยาบาลได้ครึ่งหนึ่งของการผ่าตัดปกติ เช่น การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี มีผู้ป่วยปีละ 90-100 ราย ส่วนใหญ่ใช้การผ่าตัดแผลเล็ก ทำให้มีวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยเพียง 3-4 วัน ขณะที่ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบปกติจะมีวันนอนโรงพยาบาล 5-10 วัน
ทั้งนี้ โรงพยาบาลเชียงคำยังมีการจัดบริการเทเลเมดิซีนใน 2 รูปแบบ คือแบบ B2C หรือแพทย์คุยผ่านออนไลน์กับคนไข้โดยตรง และแบบ B2B หรือแพทย์คุยออนไลน์กับผู้ป่วยที่โรงพยาบาลหรือ รพ.สต. ใกล้บ้านผู้ป่วย โดยในส่วนของ B2C นั้น จะทำกับผู้ป่วยรายเดิมที่มีนัดติดตามอาการและการดูแลต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมโรคได้ในระดับดีที่ต้องรับยาต่อเนื่อง การเตรียมพร้อมก่อนผ่าตัด และการติดตามอาการหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดวันเดียวกลับ การติดตามอาการผู้ป่วยที่มีอาการหลังผ่าตัดไม่ซับซ้อน และการติดตามอาการผู้ป่วยโรคอื่นๆที่ไม่ซับซ้อน
ขณะที่รูปแบบบริการแบบ B2B ผู้ป่วยจะอยู่ที่โรงพยาบาลหรือ รพ.สต. ใกล้บ้าน ส่วนมากจะใช้กับผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องการการปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง หรือ รพ.สต.ต้องการปรึกษาแพทย์ในการวินิจฉัยดูแลรักษาโรค รวมทั้งผู้ป่วยรายเก่าของโรงพยาบาลเชียงคำที่ต้องการพบแพทย์เฉพาะทางผ่านระบบเทเลเมดิซีน
พญ.สมรัก กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษากรณีนาง ต่อม อิ่นคำ อายุ 56 ปี อยู่ ต.ฝายกวาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้รับการคัดกรองจาก รพ.สต.แวนโค้ง โดยรพ.สต.ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ Fittest positive (เป็นวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ) ณ รพ.สต.แวนโค้งแล้ว พร้อมกล่าวว่า เนื่องจากถ่ายอุจจาระเป็นเลือดเลยไปตรวจ พบว่ามีเชื้อเซลมะเร็ง รพ.สต.ส่งรายชื่อให้ ทีม SERVICE PLAN มะเร็ง เพื่อประสานกับห้องส่องตรวจระบบทางเดินอาหารให้พบแพทย์แล้วนัด COLONOSCOPE (ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่) โดยมีเจ้าหน้าที่ห้องส่องกล้อง นัดผู้ป่วยเข้ากลุ่ม วันที่ 2 พ.ย.65 เพื่อพบแพทย์และฟังข้อมูลการเตรียมตัวก่อนส่องตรวจลำไส้ใหญ่ และภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้ โดยมีพยาบาลห้องส่องกล้องจะสอนวิธีการ เตรียมตัวก่อนมาส่องลำไส้ใหญ่ พร้อมกับนัดวันที่จะมาส่องลำไส้ใหญ่
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมาส่องตรวจลำไส้ใหญ่ COLONOSCOPE แล้วเมื่อวันที่ 15 พ.ย.2565 ที่ผ่านมา พบว่า มี ผลปกติ จากนั้นมีการติดตามวันที่ 16 พ.ย.65 ผู้ป่วยอาการปกติดี ไม่มีอืดแน่นท้อง ไม่ปวดท้อง ไม่มีถ่ายเป็นเลือด ผ่านระบบTELEMED มีนัดพบแพทย์อีกครั้ง 16 ก.พ.2566 (นัดเทเลในห้องประชุมและเยี่ยมบ้าน)
จากนั้นคณะลงเยี่ยม CASE TELEMED ที่ห้องส่งกล้องตรวจทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal endoscopy) รพ.เชียงคำ โดยมี นาง ต่อม อิ่นคำ อายุ 56 ปี อยู่ ต.ฝายกวาง อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้รับการคัดกรองจาก รพ.สต.แวนโค้ง โดยรพ.สต.ได้ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ Fittest positive (เป็นวิธีการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระ) ณ รพ.สต.แวนโค้งแล้ว พร้อมกล่าวว่า เนื่องจากตนถ่ายอุจจาระเป็นเลือดเลยไปตรวจ พบว่ามีเชื้อเซลมะเร็งพอตรวจแล้วไม่พบ แต่ก็ยังต้องไปตรวจเพื่อติดตามอาการต่ออีก โดยหมอบอกว่าถ้าไม่มีอาการใดๆก็ควรมาตรวจซ้ำอีกประมาณ 5-10ปี ขอบคุณทุกฝ่ายที่ช่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แถมยังไม่ต้องเสียเวลาในการทำงานรวมทั้งค่ารถไปรพ.ปกติไป-กลับครั้งละ 400 บ.
นอกจากนี้ยังได้ช่วยเหลือนาย เกษม กันทะเนตร อายุ 59 ปี บ้านเลขที่ 54 หมู่ 13 ต.น้ำแวน อ.เชียงคำ จ.พะเยา ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และได้รับผ่าตัดTKAเมื่อ26พ.ค.65 ผลการรักษาคนไข้สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ และมาติดตามอาการหลังผ่าตัดไปแล้วที่รพ.เชียงคำ พร้อมกล่าวว่า ขอขอบคุณมากที่ได้ช่วยเหลือให้ตนกลับมาใช้ชีวิตไปปกติ และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา เสียแค่ค่าเดินทางและค่ากินมารพ. ก่อนที่จะเข้ามาผ่าตัดได้ไปรพ.ในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรักษาโรครูมาต่อย แต่ปรากฎว่าหมอตรวจแล้วไม่ใช่เลยให้มารักษาต่อที่รพ.เชียงคำซึ่งใกล้บ้าน โดยผ่าตัดและอยู่รพ.3วัน ก็เริ่มเดินได้ แต่ยังมีอาการเจ็บนิดหน่อย ต่อมาหมอให้กลับบ้านไปพักฟื้น 1สัปดาห์มาดูอาการผลปรากฎว่าดีขึ้นมาก จากนั้นให้มาหาอีก3เดือน จนปัจจุบันเริ่มเดินได้ปกติ แต่ขาข้างซ้ายก็เริ่มมีปัญหาและหมอนัดเพื่อมาผ่าอีกในช่วงเดือน ก.พ. 66