รพ.สต.บ้านชำป่างามและกปท.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ทำโครงการ “ทศวรรษการป้องกันและชะลอภาวะไตเรื้อรัง : ชะลอไตเสื่อม”ด้วยกองทุนสุขภาพตำบล ช่วยลดค่าการทำงานไตของผู้ป่วยถึงร้อยละ 10.84 ด้าน รองเลขาธิการสปสช. ระบุ ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. เป็นต้นไป อปท.-ท้องถิ่น สามารถเสนอโครงการของบกองทุนตำบล สนับสนุนดูแลผู้ป่วยไตวายได้
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 นพ.อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการ สปสช. พร้อมด้วย นพ.สุรทิน มาลีหวล ผอ.สปสช.เขต 6 ระยอง ลงพื้นที่ รพ.สต.บ้านชำป่างามและกปท.ท่ากระดาน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินโครงการ “ กปท.ท่ากระดาน และรพ.สต.บ้านชำป่างาม เชิงรุก ลดความเสี่ยงชะลอไตเสื่อม : โครงการส่งเสริมสุขภาพปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค และชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง” ซึ่งดำเนินการโดยกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นท่ากระดาน และ รพ.สต.บ้านชำป่างาม รพ.สนามชัยเขต อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา โดยมี นายสมศักดิ์ รักษาทรัพย์ ผอ.รพ.สต.บ้านชำป่างาม นพ.สมคิด วิระเทพสุภรณ์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามชัยเขต และเป็นแพทย์ประจำรพ.สต.บ้านชำป่างาม ให้การต้อรับและให้ข้อมูล
นายสมศักดิ์ รักษาทรัพย์ ผอ.รพ.สต.บ้านชำป่างาม กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการโดยใช้งบประมาณจาก กปท. หรือกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งเป็นกองทุนภายใต้ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กับ สปสช. ใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับพื้นที่ โดยปัจจุบัน รพ.สต.บ้านชำป่างาม ขึ้นอยู่กับอบต.ท่ากระดาน และกปท.ท่ากระดาน มีผู้ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไตวายที่มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตควบคู่ด้วยจำนวนหนึ่ง จึงจำเป็นต้องได้รับการ “ชะลอความเสื่อมของไต” เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะผู้สูงอายุที่เป็น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ถ้าทานยาไม่ต่อเนื่องหรือบิโภคอาหารที่มีโซเดียมมักจะทำให้เกิดโรคไตเพิ่มตามมาได้
ผอ.รพ.สต.บ้านชำป่างาม กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยจำนวน 303 ราย ที่รักษาอยู่ที่คลินิกโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านชำป่างาม ที่จะได้เข้าร่วมกิจกรรมโครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค และชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยกลุ่มเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ใน 3 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1. การดูแลตนเอง การลดภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะทางไต 2. การสาธิตการประกอบอาหารที่มีรสจืด ใส่เครื่องปรุงรสน้อยลง 3. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ( อสม.) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ชาวบ้านในพื้นที่ ตลอดจนการใช้นวัตกรรมการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
“ผลการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค และชะลอความเสื่อมของไตในผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูงที่ผ่านมา จากข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังติดตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2556 – ปี 2565 พบว่า ปี 2564 ผู้ป่วยไตดีขึ้น 9 คน ผู้ป่วยมีแนวโน้มค่าการทำงานของไตลดลงถึง ร้อยละ 10.84 ซึ่งเป็นสันญาณที่ดี”
ผอ.รพ.สต.บ้านชำป่างาม กล่าวว่า สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้มารับบริการที่ดี จะเริ่มให้เจ้าหน้าที่ไปแนะนำและใช้เครื่องวัดความเค็มเมื่อไปเยี่ยมบ้านและให้ความรู้ ตั้งแต่คนปรุงอาหาร ร้านค้าเพื่อให้เขาเห็นถึงอันตรายการบริโภคอาหารที่มีรสเค็ม เช่น น้ำปลา ชูรส รสดี ซึ่งเครื่องตรวจวัดความเค็มในอาหารว่าควรอยู่ประมาณไหน ซึ่งมีตั้งแต่ ค่าปกติ ,ปานกลาง และเสี่ยงกับเป็นไรคไตที่จะทำให้ผู้ป่วยและผู้ที่ทำอาหารได้เห็นภาพชัดเจนและเข้าใจมากขึ้นว่ามันมีความเสี่ยงและเป็นอันตรายกับสุขภาพอย่างมาก
นายสมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคตเราจะของบจาก กปท.ในการซื้อเครื่องวัดความเค็ม เพื่อให้อสม.นำไปใช้ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังให้มีการป้องกันหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค เพราะหากเป็นแล้วการรักษาค่อนข้างใช้งบสูง
ขณะที่ นพ.อภิชาติ กล่าวว่า เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เมื่อวันที่ 2 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. เป็นประธาน มีมติเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและชะลอจำนวนผู้ป่วยโรคไตรายใหม่ และมอบหมายให้สปสช.ดำเนินการสนับสนุนมาตรการนี้อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ ให้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการใช้งบประมาณกองทุน กปท. ที่ยังไม่มีแผนการใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว โดยจัดทำโครงการที่ชัดเจนและเริ่มดำเนินการภายใน พ.ค. 2565 พร้อมประสานกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) ในการขับเคลื่อนนโยบาย
“ สปสช.จะเร่งดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนการใช้งบประมาณ กปท. เพื่อจัดทำโครงการค้นหาและชะลอผู้ป่วยโรคไตรายใหม่ทันที โดยปัจจุบัน กปท. มีเงินงบประมาณคงเหลือและยังไม่มีแผนใช้เงินอยู่ประมาณ 2,315 ล้านบาท หลังจากนี้จะขอความร่วมมือ สธ. และ มท. ในการชี้แจงทำความเข้าใจกับหน่วยบริการหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต่อไป โดยจะเริ่มเปิดให้เสนอโครงการขอรับงบประมาณได้ตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. 2565 เป็นต้นไป” รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.อภิชาติ กล่าวต่อว่า กลไกและกิจกรรมเพื่อชะลอไตเสื่อมตามมาตรการป้องกันและชะลอจำนวนผู้ป่วยโรคไตรายใหม่ ประกอบด้วย 1.คณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ รับทราบนโยบายทศวรรษมาตรการชะลอไตเสื่อม เพื่อลดผู้ป่วยโรคไตรายใหม่ และสนับสนุนการขับเคลื่อนในพื้นที่ 2. สธ.ขับเคลื่อนนโยบายให้หน่วยบริการทุกระดับจัดบริการคลินิกโรคไตแบบบูรณาการในชุมชน โดยทีมสหวิชาชีพ 3.โรงพยาบาลชุมชน รพ.สต. ท้องถิ่น และองค์กรเอกชน สามารถเสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณจาก กปท. ได้
“ในโครงการจะมีกิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ไตจะเสื่อม เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ใช้ยารักษาโรคเป็นเวลานาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค การเยี่ยมบ้านเพื่อให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ สามารถดูแลตนเองได้ ลดพฤติกรรมเสี่ยง การเฝ้าระวังการใช้สมุนไพร ยา อาหาร และส่งเสริมการออกกำลังกาย การรณรงค์สื่อสารด้านสุขภาพ การจัดการสิ่งแวดล้อม การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ อาสาสมัครประจำครอบครัว ผู้ดูแลผู้ป่วย” นพ.อภิชาติ กล่าว
จากนั้นในช่วงบ่ายคณะลงพื้นที่เยี่ยมบ้านยายลำพัน พลูสวัสดิ์ อายุ 83 ปี พักอยู่ต.บ้านชำป่างาม เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดัน และโรคไตระยะเริ่มต้น โดยยายลำพัน กล่าวว่า ปกติตนชอบทำอาหารทานเอง เป็นเบาหวาน ความดัน ส่วนไตเริ่มเป็นเพราะเวลาทำอาหารจะใส่พวกรสดี ซึ่งหมอที่มาเยี่ยมบ้านจะแนะนำให้ทานอาหารที่มีรสจืด โดยปกติตนชอบทานหวานมากกว่าเค็มอยู่แล้ว แต่บางครั้งไม่รู้ว่าพวกรสดี มีส่วนผสมของเกลือร่วมด้วย ซึ่งปัจจุบันตนเริ่มทำอาหารที่มีรสจืด สิ่งที่ชอบคือมีเครื่องตรวจวัดค่าความเค็มในอาหาร ทำให้รู้ว่าอาหารที่ทำมีค่าความเค็มเกินมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งทำให้มองเห็นถาพความน่ากลัวของจุดเริ่มต้นก่อให้เกิกโรคง่ายขึ้นอีกด้วย และวันนี้รู้สึกดีใจที่มีหร่วยงาน สปสช.เยี่ยมบ้านและมาตรวจอาหาร วัดความดัน เกมือนตนเองเป็นญาติคนหนึ่ง โดยพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือไม่เกิน 0.6