สปสช.ร่วมนำคณะผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2023 หรือ PMAC 2023 จากหลายประเทศ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (CNMI) จ.สมุทรปราการ

0

ทพ.อรรถพร รองเลขาธิการ สปสช.ร่วมนำคณะผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2023 หรือ PMAC 2023 จากหลายประเทศ ลงพื้นที่ศึกษาดูงานสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (CNMI) จ.สมุทรปราการ

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสปสช. ร่วมทีมนำคณะการศึกษาดูงานของการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2023 (Prince Mahidol Award Conference 2023 : PMAC 2023) ลงพื้นที่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (CNMI) เป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
โดยมี ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดี รศ.นพ.วิชาญ โชคธนะศิริ ผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ อ.นพ.ไพโรจน์ บุญคงชื่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ผศ.พญ.สุธิดา สัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนแพทย์รามาธิบดี ต้อนรับ

และฟังบรรยายสรุปจาก ดร.นายแพทย์ธเนศ ปีติธรรมภรณ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ จากนั้นได้เข้าชมนิทรรศการวันสิ่งแวดล้อมโลก (การคัดแยกพลาสติก) ผลงานวิจัยฝุ่นในประเทศไทยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ ของรศ.ดร.ภก.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์ อาจารย์สาขาวิชาพรีคลินิก โรงเรียนแพทย์รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และการกำจัดขยะให้เป็นพื้นที่สีเขียว ที่ได้จัดแสดงไว้

อีกทั้งยังพาไปเยี่ยมชมพื้นที่ โครงการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตกระแสไฟฟ้า เยี่ยมชมพื้นที่ โครงการด้านการจัดการของเสียและน้ำเสีย และโรงพักขยะและโรงบำบัตน้ำเสียภายในสถาบันการแพทย์ฯ การปั่นจักรยานรอบๆสถาบันฯ

ทั้งนี้ สถาบันฯก่อตั้งขึ้นในปี 2560 โดยนำแนวคิด 4Es มาใช้ ได้แก่ การปฏิรูปการศึกษา เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และสภาพ ความเป็นอยู่และการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยม (CNMI ประกอบด้วยโรงพยาบาล โรงเรียนแพทย์ และย่านที่อยู่อาศัยเป็นหลัก ซึ่งต้องรองรับผู้คนหลายพันคนต่อวัน และต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก เพื่อให้การดำเนินงานดีขึ้น และยั่งยืนยิ่งขึ้น จึงได้ริเริ่มแผนปฏิบัติการที่เรียกว่า ‘CNMI Go Green’

อย่างไรก็ตาม CNMI Go Green ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ การเพิ่มและปรับปรุงพื้นที่สีเขียว การประหยัดพลังงานและการใช้แหล่งพลังงานทดแทน การรีไซเคิลน้ำเสีย การจัดการของเสีย การส่งเสริมการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพให้บุคลากรและนักศึกษา ริเริ่มมาตั้งแต่ปี 2562 มีหลายโครงการที่ประสบผลสำเร็จ หลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ CNMI ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 3 MWh ตั้งแต่เดือนแรก แคมเปญการประหยัดพลังงานและการจัดการของเสียทั่วทั้งสถาบันช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 464 ตันเทียบเท่าในปี 2565 CNMI x Anywheel เสนอให้เพิ่มการใช้จักรยานในสถาบันมอบจักรยานกว่า 200 คัน ให้กับเจ้าหน้าที่และนักศึกษาทุกคน

ทั้งนี้ โครงการนี้คาดว่าจะเพิ่มการขนส่งภายในแบบปลอดคาร์บอนและส่งเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากร CNMI ทุกคน สำหรับ“โครงการที่กำลังจะเปิดตัวในต้นปี 2566 คือการรีไซเคิลน้ำเสียด้วยการกรองและโอโซนเพื่อใช้ในหอหล่อเย็น” คาดว่าจะเป็นต้นแบบใหม่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ นอกเหนือจากโครงการเชิงกลยุทธ์เหล่านี้แล้ว ยังมีการใช้นโยบายมากมาย เช่น การห้ามใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งและการประหยัดพลังงานเพื่อสร้างสำนึกในความรับผิดชอบ นอกจากนี้ กิจกรรมจากบุคลากรของ CNMIยังได้รับการส่งเสริมอีกด้วย เพื่อปลูกฝังมุมมองด้านสิ่งแวดล้อม แคมเปญเช่น You sort-We serve (การคัดแยกพลาสติก) หรือนิทรรศการวันสิ่งแวดล้อมโลกได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารด้วยความเต็มใจ”
การเยี่ยมชมครั้งนี้ (site visit ) จะนำเสนอความสำเร็จของ CNMI ในการดำเนินงานด้วยวิธีที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนโครงการสีเขียวจะแสดงให้เห็น ผู้เข้าอบรมจะได้รับและเข้าใจถึงความสำคัญของนโยบายสีเขียว ตลอดจนความสำคัญของความร่วมมือจากบุคลากรในการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมสีเขียว

ด้าน ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า การร่วมทีมนำคณะการศึกษาดูงานของการประชุมวิชาการนานาชาติรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ปี 2023 (Prince Mahidol Award Conference 2023 : PMAC 2023) ลงพื้นที่ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ (CNMI) เป็นส่วนหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เพราะที่แห่งนี้เป็นโรงเรียนแพทย์ และต้องการเป็นตัวอย่างที่ทำให้มลพิษน้อยลง ด้วยการใช้กลไกต่างๆ หรือพลังงานสะอาด พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าซึ่งจะทำให้ลดคาร์บอน กลไกที่นำวัตถุดิบมาใช้ให้นานขึ้น มีการกำจัดน้ำเสีย ซึ่งเป็นผลทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาด และมีผลต่อสุขภาพอย่างมาก ปัจจุบันพบว่าสิ่งแวดล้อมแย่ทุกๆวัน สิ่งที่โรงเรียนแพทย์รามาธิบดีทำจะช่วยป้องกัน และยังทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น พอสิ่งแวดล้อมดีขึ้นผลตามมาทำให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้นด้วย และยังมีงานวิจัยเรื่องฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย ซึ่งหลายคนพูดว่าทำให้เป็นโรคปอด หรือโรคต่างๆ แต่เรายังไม่เห็นงานวิจัยวิทยาศาสตร์อย่างชัดเจน วันนี้ในงานก็มีการนำเสนอผลงานวิจัยเบื้องต้น

ด้านรศ.ดร.ภก.พิสิฐ เขมาวุฆฒ์ อาจารย์สาขาวิชาพรีคลินิก โรงเรียนแพทย์รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ทางสาขาวิชาพรีคลินิก ได้ทำการศึกษาผลของฝุ่น PM2.5 ในประเทศไทย โดยเก็บมาจาก 3 แหล่งคือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งมีการเผ่าถ่านมาก, บางพลี จ.สมุทรปราการ มีโรงงานอุตสาหกรรมมาที่สุดในประเทศไทย และอยู่ชานเมืองกรุงเทพฯ ซึ่งจะมีฝุ่นที่เกิดของเสียงภายในรถยนต์(คาร์บอน)ผสมเข้ามาด้วย และ ที่จ.เชียงราย ซึ่งเป็นฝุ่นที่เกิดจาการเผ่าป่า หญ้าแห้งซึ่งจะมาตามฤดูกาล โดยเราจะนำมาเทียบกันฝุ่นอเมริกา ยุโรป ว่ามีผลต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร ซึ่งพบว่า ปลาตายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบ่อเลี้ยงปลาสลิด โดยวิธีทดลองกับปลาม้าลาย ซึ่งตัวจะใสๆเห็นระบบภายในร่างกายของตัวปลา จะพบว่าสมองผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งการวิจัยฝุ่นนี้เสร็จไปแล้วประมาณ 70-80% ข้อมูลนี้จะเป็นสิ่งสำคัญของเมืองไทยด้วยและมีความแตกต่างจากฝุ่นเมืองนอกอย่างไร