สปสช.ชื่นชมโมเดลรพ.ศรีสงคราม จ.นครพนม มีระบบการดูแลจัดบริการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ทำให้ผู้ป่วยไตวายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

0

คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพและ คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ เขต 8 อุดรธานี ลงเยี่ยมรพ.ศรีสงครามจัดบริการคลินิกดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง บูรณาการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ลดการเสื่อมของไต ทำให้ผู้ป่วยไตวายมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสุขภาพแข็งแรง

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพและคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพ และ มาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ เขต 8 อุดรธานี และทพ.กวี วีระเศษฐกุล ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 8 อุดรธานี ลงพื้นที่โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เยี่ยมชมระบบการจัดบริการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในเขตพื้นที่ และลงเยี่ยมบ้านผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ จากพื้นที่ในการพัฒนาสิทธิประโยชน์ผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง(CAPD) ผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม(HD) และ ผู้ดูแลผู้ป่วย (care giver)

ทพ.กวี กล่าวว่า จากข้อมูลสุขภาพในอำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 69,716 คน เพศชาย 34,603 คน เพศหญิง 35,113 คน (ข้อมูลทะเบียนณราษฎร์ เดือนธันวาคม 2565 )โดยมีจำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในการดูแลของโรงพยาบาลศรีคราม จำนวนทั้งสิ้น 2,085 ราย แยกเป็นผู้ป่วยในอำเภอศรีสงคราม 1,000 ราย และ ใน Clinic CKD รวมนอกเขตอำเภอ 1,085 ราย

นายแพทย์วรกาล ธิปกะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสงคราม และนายกามนิต มงคลเกตุ สาธารณสุขอำเภอศรีสงคราม กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย CKD เป้าหมายอัตราการกรองผู้ป่วยคลินิกไตวายเรื้อรัง โดยมุ่งลดผู้ป่วยรายใหม่ สร้างกระแสประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้เกี่ยวกับโรคไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยเบาหวาน ,นิ่วในไต ได้รับการติดตามค่าไตสม่ำเสมอ มีการตรวจคัดกรอง พัฒนาระบบดูผลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้มาตรฐาน แพทย์มี CPG เภสัชกรดูแลเรื่องยา และ พยาบาลดูแลเรื่องการให้คำแนะนำ มีการประสานงานระหว่างโรงพยาบาล, รพ.สต. , และเครือข่าย ภายใต้โครงการ”รักษ์ไต และ CPG การดูแลใน รพ.สต. “

ทั้งนี้ โรงพยาบาลศรีสงคราม เปิดคลินิกล้างไตทางช่องท้อง และดูแลผู้ป่วยรายนี้หลังจากวางสายหน้าท้องที่ โรงพยาบาลนครพนม จึงส่งต่อมารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสงคราม โดยมีอายุรแพทย์และพยาบาลเฉพาะทางในการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง

จากนั้นคณะลงเยี่ยม บ้านนายกรรชัย รัตนะ อายุ 65 ปี ตาขวาบอด ตาซ้ายมองเห็นแต่แสง จึงตัดสินใจทำการล้างไตทางหน้าท้องด้วยตนเอง จนเกิดความชำนาญ ในการล้างไตทางช่องท้อง และมาโรงพยาบาลด้วยตัวเอง บางครั้งลูกชายมาส่ง ตอนกลับบ้านจ้างรถสามล้อ กลับ สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่เคยติดเชื้อทางช่องท้อง เพราะดูแล สถานที่และสภาพแวดล้อมอย่างดี อาศัยอยู่กับภรรยาและหลาน ลักษณะบ้านปูนชั้นเดียว บริเวณบ้านสะอาด เรียบร้อย สภาพจิตใจ ผู้ป่วยเป็นคนร่าเริง มนุษยสัมพันธ์ดี ยอมรับการเจ็บป่วยครั้งนี้ สามารถปล่อยวาง และช่วยเหลือตนเองได้ แม้จะมีสภาพร่างกายพิการทางสายตา

“การล้างไตผ่านช่องท้อง ทำทุกวัน ก็เหมือนการขับของเสียออกจากร่างกายทุกวัน เมื่อของเสียออกจากร่างกายทุกวัน เลยรู้สึกว่าผิวพรรณดูสดใสขึ้นด้วย ซึ่งต่างจากการฟอกเลือดผ่านเครื่อง ที่ทำ 3 วันครั้ง มันเหมือนว่าของเสียยังตกค้างที่ร่างกาย “ นายกรรชัย กล่าว

จากนั้นเยี่ยมบ้านนายพีระวุฒิ สอนสา อายุ48 ปี ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังรายที่ 2 เพศชาย อายุ 48 ปี รักษาแบบฟอกเลือด ด้วยเครื่อง โดยในปี 2561 รักษาเบาหวานที่รพ. รักษ์สกล 2 ปีและ ย้ายมารักษาคลินิก เข้าระบบโรงพยาบาล พบภาวะไตวายระยะที่ 5 ได้เข้ารับการให้คำแนะนำบำบัดทดแทนไต โดยเลือกวิธีทำฟอกเลือดด้วยเครื่องที่ โรงพยาบาลนครพนม และจากนั้นย้าย มา มา ฟอกเลือด ที่ รพ. ศรีสงครามเมื่อ 14 มีนาคม65 ปัจจุบันใช้ชีวิตที่บ้าน อยู่กับภรรยาและบุตร ฟอกเลือดด้วยเครื่อง ที่โรงพยาบาลศรีสงคราม ทุกวันจันทร์และพฤหัสบดี ผู้ป่วยขับรถยนต์มาด้วยตนเอง สภาพจิตใจก่อนฟอกไต เครียดเรื่องงาน เรื่องหนี้สิ้นและการเจ็บป่วย ก่อนรักษาฟรีต้องจ่ายค่าฟอก เลือด โดยมีค่าเดินทางไปฟอกที่ รพ. นครพนม ค่าใช้จ่ายประมาน 20,000 บาท/เดือน

“ปัจจุบัน รักษาฟรี ฟอกไตใกล้บ้าน ไม่มีหนี้ ไม่เครียด สุขภาพร่างกายและจิตใจดี สามารถเข้าถึงระบบบริการในการบำบัดทนแทนไตได้เร็วและช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง” นายพีระวุฒิ กล่าว

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ชื่นชมการดำเนินงานและให้กำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดูแลและชะลอไตเสื่อมลดผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มผู้ป่วย DM และการจัดระบบบริการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในพื้นที่โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ซึ่งสปสช.เดินหน้านโยบาย “เลือกฟอกไตแบบที่ใช่ได้ทุกคน” เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองตัดสินใจร่วมกับแพทย์เพื่อเลือกวิธีฟอกไตที่เหมาะสมได้

ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป ผู้ป่วยสมัครใจฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แพทย์จะส่งผู้ป่วยเข้ารับบริการด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยบริการที่เหมาะสม โดยผู้ป่วยต้องเดินทางมาฟอกไตสัปดาห์ละไม่เกิน 3 ครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีข้อดี ไม่ต้องทำเอง ต้องไปรพ. มีพยาบาลดูแล ที่ผ่านมาฝึกอบรมโดยเฉพาะทางในการรักษา ใช้เวลาฟอกเลือด เฉลี่ย 4 ชม.ต่อครั้ง โดยมีข้อเสีย ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิกไตเทียมบ่อย มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง หากมีโรคประจำตัวรุนแรง เช่น โรคหัวใจบางชนิด อาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยสมัครใจล้างไตผ่านทางช่องท้อง รับบริการตามกระบวนการล้างไตที่บ้านเป็นประจำทุกวัน มีข้อดีทำเองได้ที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ โอกาสติดเชื้อน้อยมาก หากทำถูกต้องตามขั้นตอน ไม่เสี่ยงต่อความดันตกขณะฟอก ด้านข้อเสีย ต้องพกน้ำยาติดตัวหากเดินทางไปต่างจังหวัดหรือพักค้างที่อื่น อาจติดเชื้อหรือทำผิดหรือข้ามขั้นตอนหรือมีการปนเปื้อนได้ อย่างไรก็ตามการเลือกช่องทางการรักษาจะเป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วยเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยนั่นเอ