นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช.พร้อมด้วย นางพนิต มโนการ ผอ.สปสช.เขต11 สุราษฎร์ธานี ลงพื้นที่เยี่ยมชมและรับฟังแลกเปลี่ยน ”บทบาทเครือข่ายโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในการสนับสนุนระบบหลักประกันสุขภาพของคนไทย “ โดยมี ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และรศ.ดร.สุวิทย์ วุฒิสุทธิเมธาวี รก.ผอ.รพ.ศูนย์การแพทย์ฯ ต้อนรับและแลกเปลี่ยน ซักถาม เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566ผ่านมา
ภายหลัง รับฟังและแลกเปลี่ยน นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสปสช. กล่าวถึงการเตรียมพร้อมขยายสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ในศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ว่า เนื่องจากศูนย์แพทย์ฯมีฐานะเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่ และเพิ่งเปิดบริการแบบเต็มรูปแบบเมื่อปลายเดือน พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชน ยังไม่ทราบว่าสามารถเปลี่ยนมาขอรับบริการใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือสิทธิบัตรทองได้ ดังนั้น ขอประชาสัมพันธ์ เพียงแจ้งผ่าน หมายเลข 1330 ดำเนินการผ่านแอบพลิเคชั่น สปสช หรือไปแจ้งที่ หน่วยบริการ ก็สามารถทำได้ ตลอด
นอกจากนี้แล้ว สำหรับเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) 3 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา รพ.สต.บ้านหาร และ รพ.สต.บ้านทุ่งชน ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลไทยบุรี ,หัวตะพาน ที่มีประชากรสิทธิระบบหลักประกันสุขภาพ 7,163 คน หากประสงค์ โอนย้ายสิทธิมาใช้รักษาที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ได้ ในฐานะ โรงพยาบาลแม่ข่าย ให้หารือ กับ สปสช เขต11 สุราษฎร์ธานี ได้
“ขอยืนยันว่าในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมาณจะไร้ปัญหาแน่นอนเนื่องจากใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาดูแลด้วยสถานะของศูนย์การแพทย์ฯ เป็นแบบสมาร์ทฮอสพิทอล(Smart Hospital) ทำให้ การส่งต่อข้อมูลแม่นยำและฉับไว “ นพ.จเด็จ กล่าว
ด้าน ศ.ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า ทางศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะ โรงพยาบาลตติยภูมิในพื้นที่ ภาคใต้ตอนบน มีความพร้อมในการดูแลประชาชน ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยและคุณภาพบริการ แบบโรงเรียนแพทย์ ที่ครบวงจร ทั้งแบบปฐมภูมิและตติยภูมิ ปัจจุบัน มีการเปิดให้บริการคลินิกเฉพาะทาง 15 คลินิก อาทิ คลินิกอายุรกรรม,คลินิกเด็ก, คลินิกศัลยกรรม,คลินิกตา, คลินิกกระดูกและข้อ,คลินิกจิตเวช, คลินิกสูตินารีเวช, และคลินิกทันตกรรม เป็นต้น
จากนั้นคณะลงพื้นที่ ดูการเตรียมพร้อมพร้อมของรพ.สต.ทั้ง 3 แห่ง เพื่อรองรับประชาชนสิทธิบัตรทองทั้งนี้ โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดให้บริการแล้ว ขนาด 426 เตียง
ด้วยเมื่อปี พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ ขนาด 750 เตียง ด้วยงบประมาณ 5,600 ล้านบาท เพื่อเป็นโรงเรียนแพทย์จัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษากลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ส่งเสริมการวิจัยทางการแพทย์ รวมถึงการให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนภาคใต้ตอนบน ซึ่งการดำเนินการในเฟสที่ 1 มหาวิทยาลัยได้รับงบประมาณการก่อสร้างทั้งสิ้น 3,023 ล้านบาท แบ่งเป็นงบก่อสร้างจำนวน 2,128 ล้านบาทและงบตกแต่งภายใน 895 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 84,000 ตรม. ขณะนี้การก่อสร้างโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
อย่างไรก็ตาม เฟสที่ 1 ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ขนาด 426 เตียง พร้อมด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อรองรับการให้บริการแก่ประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชและภาคใต้ตอนบน ทั้งนี้ผู้ป่วยสามารถใช้สิทธิการรักษาต่างๆ ได้แก่ สิทธิข้าราชการเบิกจ่ายตรง สิทธิรัฐวิสาหกิจ สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สิทธิชำระเงินเอง สิทธิประกันชีวิต สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรทอง 30 บาท สิทธิประกันสังคม และทางโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ พร้อมรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆ ทุกสิทธิ์ จำนวนผู้ป่วยจำแนกตามสิทธิ
“การเตรียมความพร้อมเพื่อรับบริการประชาชนสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งปัจจุบันรับเฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประมาณ 8,000 คน และอยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อขอขยายพื้นที่การให้บริการเพิ่มเติม โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นประชากรในพื้นที่ตำบลรายรอบมหาวิทยาลัย จำนวน 2 ตำบล ได้แก่ ตำบลไทยบุรี และตำบลหัวตะพาน ประชากรสิทธิหลักประกันสุขภาพ จำนวนทั้งหมด 7,263 คน ในเขตรับผิดชอบของ 3 รพ.สต. ดังนี้
- รพ.สต.ชุมชนสาธิตวลัยลักษณ์พัฒนา ตำบลไทยบุรี จำนวน 1,822 คน
- รพ.สต.บ้านหาร ตำบลไทยบุรี จำนวน 2,418 คน
- รพ.สต.ทุ่งชน ตำบลหัวตะพาน จำนวน 2,923 คน” รก.ผอ.รพ.ศูนย์การแพทย์ฯ